เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลจัดงานประชุมวิชาการ การประยุกต์ใช้ Thin-layer Chromatography (TLC)

อ่านแล้ว 1,704 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2559  
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัด การประชุดวิชาการ หัวข้อ การประยุกต์ใช้ Thin-layer Chromatography (TLC) ในการวิเคราะห์คุณภาพสมุนไพร ณ ห้องประชุม 202 อาคารเทพรัตน์ และ ห้องปฏิบัติการเภสัชวินิจฉัย ชั้น5 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจวิธีการใช้Thin-Layer Chromatography (TLC) ในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมุนไพร (ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง) นักวิชาการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนที่มีความสนใจในการควบคุมคุณภาพสมุนไพร จึงจัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง การประยุกต์ใช้ Thin-Layer Chromatography (TLC) ในการวิเคราะห์คุณภาพสมุนไพร ในการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับหนังสือ “ทีแอลซี: วิธีอย่างง่ายในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องยาไทย” มีความหนา 460 หน้า ภาพสีทั้งเล่ม ปกแข็ง 4 สี หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 6 บท เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกองทุน FTA กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในส่วนภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศให้สูงมากขึ้นนอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรตามแนวทางเกษตรที่ดีและเหมาะสม(Good Agricultural Practice, GAP) โดยควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรให้มีปริมาณสารสำคัญที่สม่ำเสมอตามข้อกำหนดของเภสัชตำรับและควบคุมระยะเวลาการเก็บเกี่ยวเป็นต้นนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์กับนักวิจัยนิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น คณะเภสัชศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ คณะการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรและที่มีการเรียนการสอนเรื่องสมุนไพรจะได้นำไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาวิจัยต่อยอดหรือเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของสมุนไพรต่อไป หนังสือเล่มนี้สามารถใช้อ้างอิงในการตรวจสอบชนิดของสมุนไพร และการวิเคราะห์ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีคุณภาพ และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้