Eng |
แจ้งงดให้บริการเว็บไซต์ เนื่องจากมีการปรับปรุงระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของอาคาร
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ม.ค. 2568 เวลา 17.00 น.
ถึงวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2568 เวลา 08.00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
พ.ศ. 2485 | สถาปนา “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบการกระทรวงการสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 16 เล่มที่ 59 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 |
พ.ศ. 2511 | วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2511 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ใน “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” เพิ่มขึ้นอีก 2 คณะขึ้นตามนโยบายและโครงการของรัฐบาล ในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510-2514 ด้านการแพทย์ ซึ่งต้องการเพิ่มการผลิตทันตแพทย์และเภสัชกร (เดิมมีคณะเภสัชศาสตร์อยู่แล้วคณะหนึ่ง ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัจจุบัน จึงได้กำหนดชื่อคณะเภสัชศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ที่ถนนศรีอยุธยา ตำบลพญาไท ว่าคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท) วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2511 สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้ง ศาสตราจารย์นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ให้รักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” อีกตำแหน่งหนึ่ง |
พ.ศ. 2512 | วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยยกเลิกกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล |
พ.ศ. 2513 | วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2513 สภามหาวิทยาลัยมหิดล มีคำสั่งที่ 593/2513 แต่งตั้ง นายไฉน สัมพันธารักษ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแต่งตั้งนายประดิษฐ์ หุตางกูร ให้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล อีกตำแหน่งหนึ่ง |
พ.ศ. 2515 | วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2515 อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติให้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้โอนคณะเภสัชศาสตร์เดิมไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2515 เป็นต้นไป ทำให้เหลือคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท อยู่เพียงคณะเดียวในมหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล มีมติอนุมัติให้คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตัดคำว่า “พญาไท” ออก ชื่อ “คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” จึงปรากฏใช้จนถึงทุกวันนี้ |
1. | ศาสตราจารย์ ชัชวาล โอสถานนท์ (รักษาการ) | พ.ศ. 2511-2513 |
2. | อาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร (รักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท) | พ.ศ. 2513-2515 |
3. | อาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร | พ.ศ. 2515-2526 |
4. | ศาสตราจารย์(พิเศษ) สุคนธ์ พูนพัฒน์ | พ.ศ. 2526-2530 |
5. | รองศาสตราจารย์ ปราณี ใจอาจ | พ.ศ. 2530-2534 |
6. | รองศาสตราจารย์ พจนีย์ สุริยะวงศ์ | พ.ศ. 2534-2536 |
7. | รองศาสตราจารย์ จันทรา ชัยพานิช | พ.ศ. 2536-2540 |
8. | รองศาสตราจารย์ อรพรรณ มาตังคสมบัติ | พ.ศ. 2540-2544 |
9. | ศาสตราจารย์ สมพล ประคองพันธ์ | พ.ศ. 2544-2546 |
10. | ศาสตราจารย์ ธีรชัย ฉัทโรจน์ศิริ (รักษาการ) | พ.ศ. 2546-2547 |
11. | ศาสตราจารย์ สมพล ประคองพันธ์ | พ.ศ. 2547 |
12. | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ | พ.ศ. 2547 |
13. | ศาสตราจารย์ อำพล ไมตรีเวช | พ.ศ. 2547-2551 |
14. | รองศาสตราจารย์ จุฑามณี สุทธิสีสังข์ | พ.ศ. 2551-2559 |
15. | รองศาสตราจารย์ สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล | พ.ศ. 2559-2563 |
16. | รองศาสตราจารย์ สุรกิจ นาฑีสุวรรณ | พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน |