เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน


รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://domf5oio6qrcr.cloudfront.net/medialibrary/9404/iStock-505820296.jpg
อ่านแล้ว 35,619 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 31/10/2565
อ่านล่าสุด 5 นาทีที่แล้ว
Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
&level=L" border="0" alt=" Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
" style="margin-top:10px;border:1px solid #eee" />
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
 


วิตามินมีความสำคัญต่อร่างกายทุกช่วงอายุ ช่วยการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ทุกคนจึงต้องได้รับวิตามินอย่างเพียงพอ ส่วนใหญ่ร่างกายได้รับวิตามินมาจากอาหาร มีเป็นส่วนน้อยที่ร่างกายสร้างได้ ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอควรบริโภควิตามินเสริม มีผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินชนิดที่ให้เสริมอาหารออกวางจำหน่ายมากมาย ผู้บริโภคอาจได้รับวิตามินซ้ำซ้อนจนมากเกินและเกิดอันตราย โดยเฉพาะวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน (ช่วยให้เกิดความเข้าใจและลดความซ้ำซ้อนในการบริโภค), ความสำคัญของวิตามินและปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ, สาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกิน, อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน และข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย

การแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน

วิตามินมีมากมาย ชื่อเรียกที่ต่างกันอาจเป็นวิตามินชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์รวมถึงผลเสียที่เหมือนกัน การรู้ถึงชื่อเรียกวิตามินชนิดต่าง ๆ ช่วยให้เกิดความเข้าใจและลดความซ้ำซ้อนในการบริโภควิตามินชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์ที่เหมือนกัน วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1. กลุ่มวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (fat-soluble vitamins) ได้แก่ วิตามินเอ (vitamin A) ซึ่งครอบคลุมถึงเรตินอล (retinol), เรตินาล (retinal), เรตินิลเอสเทอร์ (retinyl esters), เรติโนอิกแอซิด หรือกรดเรติโนอิก หรือกรดวิตามินเอ (retinoic acid) และยังอาจครอบคลุมถึงสารกลุ่มที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (provitamin A) คือกลุ่มแคโรทินอยด์ (carotenoids) เช่น เบตาแคโรทีน (beta-carotene) สารเหล่านี้จัดเป็นพวกวิตามินเอและมีฤทธิ์เหมือนกัน หากบริโภคซ้ำซ้อนจะทำให้ได้รับมากเกินและเป็นอันตรายได้, วิตามินดี (vitamin D) หรือชื่ออื่นคือกลุ่มแคลซิเฟอรอล (calciferols) ซึ่งครอบคลุมถึงวิตามินดี 2 (vitamin D2) หรือชื่ออื่นคือเออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol) ที่ได้จากอาหาร และวิตามินดี 3 (vitamin D3) หรือชื่ออื่นคือโคเลแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) ที่ได้จากอาหารและสร้างที่ผิวหนังเมื่อได้รับแสงแดด, วิตามินอี (vitamin E) ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงสารพวกโทโคฟีรอล (tocopherols) เช่น แอลฟา-โทโคฟีรอล (alpha-tocopherol) และวิตามินเค (vitamin K) ซึ่งในธรรมชาติอยู่ในรูปวิตามินเค 1 (vitamin K1) หรือชื่ออื่นคือฟิลโลควิโนน (phylloquinone) ได้จากผักใบเขียว และวิตามินเค 2 (vitamin K2) หรือชื่ออื่นคือเมนาควิโนน (menaquinone) ได้จากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารหมัก และสร้างโดยแบคทีเรียในลำไส้

2. กลุ่มวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ (water-soluble vitamins) ได้แก่ กลุ่มวิตามินบีรวม (vitamin B complex) ซึ่งมีมากมาย ได้แก่ วิตามินบี 1 (vitamin B1) หรือชื่ออื่นคือไทอะมีน (thiamine) หรือไทอะมิน (thiamin), วิตามินบี 2 (vitamin B2) หรือชื่ออื่นคือไรโบฟลาวิน (riboflavin), วิตามินบี 3 (vitamin B3) ซึ่งครอบคลุมถึงไนอะซิน (niacin) หรือชื่ออื่นคือนิโคตินิกแอซิดหรือกรดนิโคตินิก (nicotinic acid), ไนอะซินาไมด์ (niacinamide) หรือชื่ออื่นคือนิโคตินาไมด์ (nicotinamide) และมีสารอื่นอีก, วิตามินบี 5 (vitamin B5) หรือชื่ออื่นคือแพนโททินิกแอซิดหรือกรดแพนโททินิก (pantothenic acid), วิตามินบี 6 (vitamin B6) ในธรรมชาติพบในรูปไพริดอกซีน (pyridoxine) หรือชื่ออื่นคือไพริดอกซอล (pyridoxol ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแอลกอฮอล์), ไพริดอกซามีน (pyridoxamine ซึ่งมีโครงสร้างเป็นอะมีน) และไพริดอกซาล (pyridoxal ซึ่งมีโครงสร้างเป็นอัลดีไฮด์), วิตามินบี 7 (vitamin B7) หรือชื่ออื่นที่คุ้นเคยคือไบโอติน (biotin), วิตามินบี 9 (vitamin B9) ซึ่งครอบคลุมถึงโฟเลต (folate) พบในธรรมชาติ และโฟลิกแอซิดหรือกรดโฟลิก (folic acid) เป็นสารสังเคราะห์เพื่อใช้แทนโฟเลต, วิตามินบี 12 (vitamin B12) หรือชื่ออื่นคือไซยาโนโคบาลามิน (cyanocobalamin), และวิตามินซี (vitamin C) หรือชื่ออื่นคือแอสคอร์บิกแอซิดหรือกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid)
ความสำคัญของวิตามินและปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ

วิตามินมีความสำคัญต่อร่างกายทุกช่วงอายุ ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันอาจแตกต่างกันตามเพศและวัย วิตามินช่วยการทำงานของทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินดียังทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ควบคุมกระบวนการแมแทบอลิซึมของกระดูก และช่วยในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ร่างกายได้รับวิตามินมาจากอาหาร มีเป็นส่วนน้อยที่ร่างกายสร้างได้ (ปริมาณวิตามินในอาหารประเภทต่าง ๆ สามารถค้นข้อมูลได้จากแหล่งอื่น ไม่ได้กล่าวไว้ในบทความนี้) วิตามินในอาหารสลายไปบางส่วนเมื่อถูกความร้อนขณะปรุงอาหารโดยเฉพาะวิตามินกลุ่มที่ละลายได้ในน้ำ อาหารที่มาจากธรรมชาติหากเก็บไว้นานปริมาณวิตามินลดลงได้ หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการสารอาหารซึ่งรวมถึงวิตามินมากกว่าคนทั่วไป ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารได้น้อยอีกทั้งทางเดินอาหารดูดซึมสารอาหารได้ลดลงจึงอาจเสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ผลกระทบที่เกิดจากการบริโภควิตามินไม่เพียงพอมีได้แตกต่างกันขึ้นกับชนิดของวิตามิน โดยรวมแล้วจะทำให้เจริญเติบโตช้า (กรณีที่เป็นเด็ก) ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง สุขภาพผิวหนังและเส้นผมไม่ดี การมองเห็นบกพร่อง ระบบประสาททำงานผิดปกติ เป็นต้น การขาดวิตามินอย่างรุนแรงทำให้เกิดโรค เช่น การขาดวิตามินบี 1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชา (beriberi), การขาดวิตามินบี 3 ทำให้เกิดโรคเพลแลกรา (pellagra), การขาดวิตามินซีทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด (scurvy), การขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (rickets) ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอจึงควรบริโภควิตามินเสริม ปริมาณวิตามินที่ควรได้รับในแต่ละวันดูได้จากดูตาราง



สาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกิน

การบริโภควิตามินมากเกินอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้

1. ผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินชนิดที่ให้เสริม จัดเป็นสาเหตุสำคัญของการบริโภควิตามินมากเกินที่พบในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีจำหน่ายมากมายและหาซื้อได้สะดวก มีทั้งชนิดที่เป็นวิตามินรวม (multivitamins) และวิตามินผสมแร่ธาตุ (vitamins and minerals) ไม่ควรบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ และไม่ควรบริโภคเกินขนาดที่แนะนำ ชื่อวิตามินที่ระบุไว้ต่างกันอาจเป็นวิตามินชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์เหมือนกัน หากบริโภคซ้ำซ้อนอาจได้รับวิตามินมากเกิน เช่น “วิตามินเอ (vitamin A)” ซ้ำซ้อนกับ “เรตินอล (retinol)”, “วิตามินบี 3 (vitamin B3)” ซ้ำซ้อนกับ “ไนอะซิน (niacin)” และซ้ำซ้อนกับ “นิโคตินิกแอซิด (nicotinic acid)”, “วิตามินดี (vitamin D)” ซ้ำซ้อนกับ “เออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol)” และซ้ำซ้อนกับ “โคเลแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol)” ดูชื่อวิตามินเพิ่มเติมในหัวข้อ การแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน นอกจากนี้การบริโภคตามกระแสความเชื่อโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนทำให้เกิดการบริโภคมากเกินได้เช่นกัน

2. วิตามินที่ใช้เป็นยา เป็นสาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกินได้แม้พบไม่บ่อยเท่าการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม เช่น วิตามินดีที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน การบริโภคยาเป็นเวลานานและในปริมาณสูงทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้แม้ว่าระดับวิตามินดีในเลือดอาจไม่สูง หรือผู้ที่ใช้ยาไอโซเทรทิโนอิน (isotretinoin) ซึ่งเป็นยารักษาสิวชนิดรับประทาน ยานี้เป็นอนุพันธ์วิตามินเอ การบริโภคยาดังกล่าวเป็นเวลานานอาจเกิดความเป็นพิษคล้ายกับการได้รับวิตามินเอมากเกิน ผู้ที่ใช้ยานี้ควรหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินเอเสริม

3. อาหารที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการโดยการเติมสารอาหาร (fortified foods) ซึ่งสารอาหารที่เติมมีหลายอย่างรวมถึงวิตามิน อาหารมีทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทนม, โยเกิร์ต, นมถั่วเหลือง, ขนมปัง, ผลิตภัณฑ์ประเภทธัญพืชที่รับประทานเป็นอาหารเช้า เป็นต้น การบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการบริโภควิตามินมากเกินหากรับประทานร่วมกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นที่มีวิตามิน

4. อาหารที่มีปริมาณวิตามินสูงมาก โดยทั่วไปการบริโภควิตามินในอาหารที่มาจากธรรมชาติไม่เป็นสาเหตุของการได้รับวิตามินมากเกิน ยกเว้นการบริโภคตับปลาบางชนิดในปริมาณมาก เช่น มีรายงานถึงการเกิดภาวะที่มีวิตามินเอในเลือดสูงจนเกิดอาการพิษในผู้ที่บริโภคตับปลาทะเลปริมาณมากในคราวเดียว (ตับปลา 1 กิโลกรัมร่วมกันบริโภค 3 คน เกิดอาการผิดปกติหลังการบริโภค 2 ขั่วโมง) หรือผู้บริโภคตับปลาถี่เกิน (ครั้งละประมาณ 100 กรัม จำนวน 4 ครั้งในช่วง 15 วัน) ส่วนการบริโภคอาหารที่มีเบตาแคโรทีนปริมาณสูงจนสภาพผิวหนังชั้นนอกสุดเป็นสีเหลืองส้ม (carotenodermia หรือ carotenosis) นั้นไม่เป็นอันตรายและกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดบริโภค


อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน

วิตามินที่มาจากธรรมชาติมักไม่พบการบริโภคจนมากเกินหรือการสะสมจนเกิดเป็นอันตราย (อาจพบได้บ้างเป็นส่วนน้อยในกรณีที่บริโภคตับปลาบางชนิดในปริมาณมากหรือบริโภคบ่อยเกินตามที่กล่าวข้างต้น) ส่วนใหญ่การบริโภควิตามินมากเกินที่เป็นปัญหาและพบได้ทั่วโลกเกิดจากวิตามินชนิดที่ให้เสริม แม้ว่าการตรวจวัดระดับวิตามินในเลือดและพบภาวะวิตามินในเลือดสูง (hypervitaminosis) จะช่วยยืนยันว่ามีการบริโภคมากเกินและเสี่ยงต่อความเป็นพิษ แต่บางครั้งความเป็นพิษเกิดได้โดยไม่พบภาวะวิตามินในเลือดสูง วิตามินที่ละลายได้ในไขมันมีโอกาสเกิดความเป็นพิษมากกว่าวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เนื่องจากมีการสะสมในเนื้อเยื่อ เช่น ที่ตับ ไต หัวใจ และอาจทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น การบริโภควิตามินที่ละลายได้ในน้ำในปริมาณมากจนเกิดอันตรายพบได้น้อย เนื่องจากวิตามินที่มากเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะและบางชนิดถูกขับออกทางอุจจาระได้ด้วย ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายของวิตามินบางชนิดมีระบุไว้ในตาราง อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกินอาจเกิดแบบเฉียบพลันหรือเกิดแบบเรื้อรังดังกล่าวข้างล่างนี้

อันตรายที่เกิดแบบเฉียบพลัน อันตรายหรืออาการพิษที่เกิดแบบเฉียบพลันจากการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมนั้นยังไม่มีข้อมูล การใช้วิตามินเป็นยารักษาโรคและใช้เกินขนาดทำให้เกิดอาการพิษแบบเฉียบพลันได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดเช่นเดียวกับยารักษาโรคชนิดอื่นทั่วไป และมีโอกาสเกิดได้ไม่ว่าจะเป็นวิตามินชนิดละลายได้ในไขมันหรือวิตามินชนิดละลายได้ในน้ำ โดยเฉพาะหากให้ยาโดยการฉีดและให้เกินขนาด อาการพิษแบบเฉียบพลันเกิดได้แตกต่างกันขึ้นกับชนิดของวิตามิน แต่มีอาการโดยทั่วไปที่คล้ายกัน เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ไม่รู้สึกตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย สับสน

อันตรายที่เกิดแบบเรื้อรัง พบได้มากเมื่อบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม เกิดจากการบริโภคมากเกินเป็นเวลานาน ผู้บริโภคมักซื้อผลิตภัณฑ์มาบริโภคเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ และส่วนใหญ่ผู้บริโภคไม่ทราบถึงปริมาณวิตามินที่ควรได้รับต่อวัน ตลอดจนไม่ทราบถึงปริมาณที่บริโภคไปในแต่ละวัน ทำให้บริโภคมากเกินจนเกิดความเป็นพิษเรื้อรังได้ อาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามชนิดของวิตามินที่บริโภคมากเกิน (ดูรายละเอียดในตาราง) แต่มีอาการโดยทั่วไปที่คล้ายกัน เช่น ร่างกายอ่อนแอลง ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง ออกกำลังกายไม่ไหว อ่อนล้า เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้

วิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน ความเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากวิตามินเอและวิตามินดี พบการสะสมที่เนื้อเยื่อบางแห่ง เช่น ตับ ไต หัวใจ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเหล่านั้น อาจเกิดรุนแรงจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ในกรณีที่บริโภควิตามินดีมากเกินจนเกิดความเป็นพิษนั้นเกิดจากการที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง พบการสะสมแคลเซียมที่เนื้อเยื่อไตและการเกิดนิ่วแคลเซียมที่ไต แม้ว่าระดับวิตามินดีในเลือดอาจไม่สูง

วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ พบรายงานการเกิดความเป็นพิษได้น้อยกว่าวิตามินเอและวิตามินดี วิตามินในกลุ่มนี้ที่มีรายงานถึงการบริโภคมากเกินจนเกิดอันตราย เช่น วิตามินบี 6 ทำอันตรายต่อประสาทส่วนปลาย ทำให้รู้สึกเสียวแปลบ แสบร้อน หรือชา มักเกิดที่มือหรือเท้า อาจทำอันตรายต่อประสาทส่วนปลายที่อื่นได้ด้วย เช่น ที่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่าย หากได้รับการวินิจฉัยล่าช้าและยังคงบริโภควิตามินบี 6 มากเกินอาจทำให้ประสาทส่วนปลายเสียหายมากขึ้นและเซลล์ประสาทอาจถูกทำลายอย่างถาวร สำหรับวิตามินบี 12 แม้เป็นชนิดที่ละลายได้ในน้ำแต่การบริโภคปริมาณมากเป็นเวลานาน พบการสะสมที่ตับและเกิดภาวะวิตามินบี 12 ในเลือดสูงได้ ส่วนวิตามินซีหากบริโภคปริมาณมากเป็นเวลานานแม้ไม่พบผลเสียที่รุนแรง แต่อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เวียนศีรษะ มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง ปวดท้อง กระตุ้นการสะสมสารออกซาเลต (oxalates) ทำให้เกิดนิ่วที่เนื้อเยื่อไตและในถุงน้ำดี


ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย

วิตามินเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายจึงควรได้รับอย่างเพียงพอ แต่บางคนอาจบริโภคมากเกินจนอาจเกิดอันตราย จึงมีข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินไว้ดังนี้
  1. วิตามินที่ได้รับจากอาหารมักไม่ใช่สาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกิน ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และในปริมาณที่เพียงพอเพื่อลดการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม
  2. การบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามไม่ควรซื้อมาบริโภคเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ และควรบริโภคตามขนาดที่ระบุไว้บนฉลาก หรือตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ
  3. ไม่บริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมตามกระแสความเชื่อ โดยที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน เพราะอาจนำไปสู่การบริโภควิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย
  4. มีผลิตภัณฑ์ประเภทที่มีส่วนผสมของวิตามินวางจำหน่ายมากมาย มีทั้งผลิตภัณฑ์วิตามินรวม วิตามินผสมแร่ธาตุ อาหารที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการโดยการเติมสารอาหารรวมถึงวิตามิน (fortified foods) เป็นต้น หากบริโภคหลายผลิตภัณฑ์ร่วมกันอาจได้รับวิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย
  5. ชื่อวิตามินบนฉลากแม้ระบุต่างกัน อาจเป็นวิตามินชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์รวมถึงผลเสียที่เหมือนกัน ผู้บริโภคควรทำความเข้าใจกับชื่อเหล่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดการบริโภคซ้ำซ้อน (ดูชื่อวิตามินต่าง ๆ ในหัวข้อ การแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน)
  6. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินและใช้บริโภคเพื่อการให้เสริม มักไม่กำหนดขนาดบริโภคที่เหมาะสมและไม่มีคำเตือน ด้วยเหตุนี้ผู้บริโภคควรใส่ใจทั้งชนิดและปริมาณของวิตามินในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดการบริโภคมากเกิน (ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณวิตามินที่ควรได้รับและปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ ดูในตาราง)
  7. ยาบางชนิดแม้ไม่ใช่วิตามิน เช่น ยารักษาสิวไอโซเทรทิโนอิน (isotretinoin) แต่มีโครงสร้างคล้ายวิตามินเอและทำให้เกิดอาการพิษได้เหมือนกัน จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ที่ใช้ยานี้หลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินเอเสริม
  8. วิตามินมีความสำคัญต่อหญิงมีครรภ์และบางชนิดควรได้รับมากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามไม่ควรซื้อวิตามินมาบริโภคเอง อีกทั้งไม่ควรบริโภคเกินขนาดที่แนะนำ นอกจากนี้การบริโภควิตามินเอขนาดสูงอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการรุนแรง
  9. ผู้ที่เป็นโรคตับ ผู้ที่ดื่มสุรา ตลอดจนผู้ที่ใช้ยาที่อาจเป็นพิษต่อตับ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม เนื่องจากวิตามินที่ละลายได้ในไขมันและวิตามินบี 12 สะสมที่ตับ จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตับได้มากกว่าคนทั่วไป
  10. อันตรายที่เกิดจากการบริโภควิตามินมากเกินแสดงออกได้หลายอย่างขึ้นกับชนิดของวิตามิน หากพบว่าร่างกายอ่อนแอลง อ่อนล้า เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูก ปลายประสาทอักเสบ (รู้สึกเสียวแปลบ แสบร้อน หรือชา ซึ่งมักเกิดที่มือหรือเท้า) มีอาการการเดินเซ หรือเกิดอาการผิดปกติอย่างอื่นที่สงสัยว่าเกิดจากวิตามินที่บริโภค ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ หากเกิดจากวิตามินเมื่อหยุดบริโภคอาการต่าง ๆ จะหายไป เว้นแต่ว่าจะปล่อยไว้นานจนเซลล์หรือเนื้อเยื่อเกิดความเสียหายแบบถาวร
เอกสารอ้างอิง
  1. Saljoughian M. Hypervitaminosis: a global concern. US Pharm 2021; 46(10):47-50.
  2. A?kÏn Ö, Uzunçakmak TKÜ, Altunkalem N, Tüzün Y. Vitamin deficiencies/hypervitaminosis and the skin. Clin Dermatol 2021; 39:847-57.
  3. Fox R, Stace N, Wood K, French C. Liver toxicity from vitamin A. JGH Open 2020; 4:287-8.
  4. Olson JM, Ameer MA, Goyal A. Vitamin A toxicity, updated: August 8, 2022. In: StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532916/. Accessed: October 15, 2022.
  5. Schmitt C, Domangé B, Torrents R, de Haro L, Simon N. Hypervitaminosis A following the ingestion of fish liver: report on 3 cases from the poison control center in marseille. Wilderness Environ Med 2020; 31:454-6.
  6. Sy AM, Kumar SR, Steinberg J, Garcia-Buitrago MT, Arosemena Benitez LR. Liver damage due to hypervitaminosis. ACG Case Rep J 2020. doi: 10.14309/crj.0000000000000431. Accessed: October 15, 2022.
  7. Lanska DJ. Pyridoxine deficiency and toxicity, updated: May 28, 2022. https://www.medlink.com/articles/pyridoxine-deficiency-and-toxicity. Accessed: October 15, 2022.
  8. Hadtstein F, Vrolijk M. Vitamin B-6-induced neuropathy: exploring the mechanisms of pyridoxine toxicity. Adv Nutr 2021; 12:1911-29.
  9. Van den Broeck T, Crul B, Heesakkers JP. Neurogenic voiding dysfunction induced by vitamin B6 overdose. Continence Reports 2022. doi.org/10.1016/j.contre.2022.100004. Accessed: October 15, 2022.
  10. Peripheral neuropathy with supplementary vitamin B6 (pyridoxine), published: October 4, 2022. https://www.tga.gov.au/news/safety-updates/peripheral-neuropathy-supplementary-vitamin-b6-pyridoxine. Accessed: October 15, 2022.
  11. Mudryj A, De Groh M, Aukema H, Yu N. Folate intakes from diet and supplements may place certain Canadians at risk for folic acid toxicity. Br J Nutr 2016: 116:1236-45.
  12. Koprivica M, Bjelanovic J. Hypervitaminosis B12. Med čas 2021; 55:139-43.
  13. Vitamin C, fact sheet for health professionals. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminC-HealthProfessional/. Accessed: October 15, 2022.
  14. Doseděl M, Jirkovský E, Macáková K, Krčmová LK, Javorská L, Pourová J, et al. Vitamin C-sources, physiological role, kinetics, deficiency, use, toxicity, and determination. Nutrients 2021. doi: 10.3390/nu13020615. Accessed: October 15, 2022.
  15. Haridas K, Holick MF, Burmeister LA. Hypercalcemia, nephrolithiasis, and hypervitaminosis D precipitated by supplementation in a susceptible individual. Nutrition 2020. doi: 10.1016/j.nut.2020.110754. Accessed: October 15, 2022.
  16. Razzaque MS. Can adverse effects of excessive vitamin D supplementation occur without developing hypervitaminosis D? J Steroid Biochem Mol Biol 2018; 180:81-6.
  17. Bhat JR, Geelani SA, Khan AA, Roshan R, Rathod SG. Vitamin D toxicity due to self-prescription: A case report. J Family Med Prim Care 2022; 11:1561-3.
  18. Houghton CC, Lew SQ. Long-term hypervitaminosis D-induced hypercalcaemia treated with glucocorticoids and bisphosphonates. BMJ Case Rep 2020. doi: 10.1136/bcr-2019-233853. Accessed: October 15, 2022.
  19. Batman A, Altuntas Y. Risk of hypercalcemia in elderly patients with hypervitaminosis D and intoxication. Acta Endocrinol 2021; 17:200-6.
  20. Sharma N, Landsberg E, Kumar V, Gambhir HSS. A curious case of hypervitaminosis D. Cureus 2020. doi: 10.7759/cureus.8515. Accessed: October 15, 2022.
  21. Alkundi A, Momoh R, Musa A, Nwafor N. Vitamin D intoxication and severe hypercalcaemia complicating nutritional supplements misuse. BMJ Case Rep 2022. doi: 10.1136/bcr-2022-250553. Accessed: October 15, 2022.
  22. Owen KN, Dewald O. Vitamin E toxicity, updated: June 19, 2022. In: StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK564373/. Accessed: October 15, 2022.
  23. Mladěnka P, Macáková K, Kujovská Krčmová L, Javorská L, Mrštná K, Carazo A, et al. Vitamin K - sources, physiological role, kinetics, deficiency, detection, therapeutic use, and toxicity. Nutr Rev 2022; 80:677-98.
  24. คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


วิตามินและแร่ธาตุ 1 นาทีที่แล้ว
พยาธิในเนื้อหมู 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้