เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาปฏิชีวนะ..ระวัง..อย่าใช้พร่ำเพรื่อ


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.stjhs.org/images/ts_RedAndWh...905[1].jpg
อ่านแล้ว 106,939 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 08/09/2560
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ประชาชนทั่วไปมักเรียก “ยาปฏิชีวนะ” ว่าเป็น “ยาแก้อักเสบ” และยังมีความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น(1) จึงมักจะไปหาซื้อยากลุ่มนี้มาใช้เองโดยไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่สมเหตุสมผล ในการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมและตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา รวมถึงการได้รับยาครบตามปริมาณและในขนาดที่เหมาะสม ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอ(2) นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ยาปฏิชีวนะนานๆหรือพร่ำเพรื่อ ยังก่อให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น 
 
ภาพจาก : http://www.herbsociety.org.uk/files/5614/5951/8716/herb-society-logo.png

  • เชื้อโรคมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้มีชีวิตรอดได้สูง พัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา (เชื้อดื้อยา) ดังนั้นโรคจึงอาจไม่หาย หรือถึงแม้ดูว่าอาการดีขึ้น แต่อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังและยังคงสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้
  • ยาจะไปฆ่าแบคทีเรียเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเสียไป และแบคทีเรียไม่ดีที่เคยถูกควบคุมสมดุลด้วยแบคทีเรียประจำถิ่นอาจรุนแรงขึ้น และโดยเฉพาะเชื้อราที่มีเป็นปกติในเยื่อเมือกและที่ผิวหนังจะแข็งแรงขึ้นจนก่อการติดเชื้อกับเราได้ เช่น เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบ (ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) หรือท้องเสีย เป็นต้น
  • ยาปฏิชีวนะทุกชนิดมีผลข้างเคียงเสมอ มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด ขนาด และวิธีกินยา และยังขึ้นกับความไวของแต่ละคนต่อยาด้วย ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะที่พบบ่อย เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
  • รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้

ซึ่งในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขนส่ง และยังส่งผลให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาต้องอยู่ในโรงพยาบาลโดยรวมนานขึ้น 3.24 ล้านวัน หรือเฉลี่ยคนละ 24-46 วัน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุสมผล(4) 
ปัจจุบันกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก ทั้งนี้เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(4) เพื่อลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาและการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยอาจใช้แนวทางพิจารณาความรุนแรงของโรคเพื่อดูแลรักษาตนเองได้(5,6) ดังนี้ 
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. gidanan ganghair. 2557. การใช้ยาปฏิชีวนะในประจำวัน. 2557. From: http://www.thaihealth.or.th/Content/25999-การใช้ยาปฏิชีวนะในชีวิตประจำวัน.html, , Accessed July 17, 2017.
  2. อภัย ราษฎรวิจิตร. 2014. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics). From: http://haamor.com/th/ /th/ยาปฏิชีวนะ/, Accessed July 17, 2017.
  3. พวงทอง ไกรพิบูลย์. 2015. หลักการใช้ยาปฏิชีวนะ (Effective use of antibiotics) from: http://haamor.com/ th/หลักการใช้ยาปฏิชีวนะ, Accessed July 17, 2017.
  4. เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย). 2559. เปิด 3 โรค ยอดฮิตความเชื่อที่ผิดใช้ยาปฏิชีวนะ"หวัด-ท้องเสีย-บาดแผล" หมอเตือนเสี่ยงเป็น “เชื้อดื้อยา”. From: http://health.sanook.com/5605/, Accessed July 17, 2017.
  5. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556. การส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลที่โรงพยาบาลศิริราช ตามแนวคิด Antibiotic Smart Use (ASU). From: www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u5680/star2555-092.pdf, Accessed July 17, 2060.
  6. ASU Project. สื่อสำหรับประชาชน. From: http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/asu/download.php, Accessed July 17, 2017.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาหอม กับคนวัยทำงาน 16 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้