เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาตีกันในผู้ป่วยโรคมะเร็ง


เภสัชกร วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 40,170 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 27/10/2556
อ่านล่าสุด 39 วินาทีที่แล้ว
https://tinyurl.com/y7egkysa
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y7egkysa
 
การใช้ยารักษาโรคมะเร็งนั้น ขนาดของยาที่ใช้เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากขนาดยาที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วงแคบๆ กล่าวคือ เมื่อใช้ในขนาดต่ำเกินไปจะไม่ให้ผลในการรักษา แต่เมื่อใช้ในขนาดสูงเกินไปกลับทำให้เกิดอาการข้างเคียงมากขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องมีวิธีการคำนวณขนาดยาโดยอ้างอิงตามพื้นที่ผิวร่างกายของผู้ป่วย (body surface area) มากกว่าใช้น้ำหนักตัว (body weight) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ใช้ได้เหมาะสมมากกว่า
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับยาในเลือดของผู้ป่วยไม่เป็นไปตามที่ต้องการคือ การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug-drug interactions) หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “ยาตีกัน” ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานหรือใช้ยาร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม แล้วทำให้ผลการรักษาจากยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งหมดดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วความหมายของอันตรกิริยาระหว่างยานั้นจะให้ความหมายไปในเชิงลบ คือ ไม่ได้ผลในการรักษาจากการใช้ยา หรือเกิดอาการข้างเคียงจากยาเพิ่มมากขึ้นก็ได้
ดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องได้รับยาต้านมะเร็งสม่ำเสมอและเคร่งครัดแล้ว ยังต้องระวังปัญหาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาด้วยเช่นกัน เนื่องจากยาที่ใช้รักษาอาการที่เป็นร่วมนั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ยาต้านมะเร็งไม่ได้ผลหรือเกิดอาการข้างเคียงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใช้ยาสำหรับรักษาอาการอื่นๆ เป็นระยะเวลานาน (เกิน 1 สัปดาห์) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กลุ่มยา ตัวอย่างคู่ยาที่มีผลต่อการรักษา ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ยาลดกรด (antacids) แร่ธาตุอลูมิเนียมและแมกนีเซียมในยาลดกรด กับ capecitabine ทำให้ระดับ capecitabine ในกระแสเลือดสูงขึ้น อาจเกิดพิษจาก capecitabine ได้แก่ โลหิตจาง ติดเชื้อง่าย ท้องเสีย เป็นต้น
ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ยากลุ่มเพนิซิลลิน (penicillins) เช่น penicillin G, penicillin V, ampicillin, amoxicillin, cloxacillin และ dicloxacillin กับ methotrexate ทำให้ระยะเวลาที่ methotrexate อยู่ในกระแสเลือดยาวนานขึ้น อาจเกิดพิษจาก methotrexate ได้แก่ พิษต่อตับ พิษต่อไต เลือดออกง่าย เห็นภาพเบลอ เป็นต้น
tetracycline, chloramphenicol หรือยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิดที่ไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (non-absorbable broad spectrum antibiotics) กับ methotrexate ทำให้ระดับ methotrexate ในกระแสเลือดลดลง ไม่ได้ผลการรักษาจาก methotrexate
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) warfarin กับ capecitabine ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin เพียงอย่างเดียว
ยาต้านอาเจียน (anti-emetics) ondansetron กับ cisplatin หรือ cyclophosphamide ทำให้ระดับ cisplatin หรือ cyclophosphamide ในกระแสเลือดลดลง ไม่ได้ผลการรักษาจาก cisplatin หรือ cyclophosphamide
ยาฆ่าเชื้อรากลุ่มเอโซล (azole antifungal agents) ketoconazole หรือ itraconazole กับ irinotecan ทำให้ระยะเวลาที่ irinotecan อยู่ในกระแสเลือดยาวนานขึ้น อาจเกิดพิษจาก irinotecan ได้แก่ โลหิตจาง ติดเชื้อง่าย มีแผลแล้วเลือดหยุดไหลช้า พิษต่อตับ ปวดเมื่อย เป็นต้น
ยาต้าน HIV กลุ่มยับยั้งโปรติเอส (protease inhibitors) delavirdine หรือ saquinavir กับ paclitaxel ทำให้ระยะเวลาที่ paclitaxel อยู่ในกระแสเลือดยาวนานขึ้น อาจเกิดพิษจาก paclitaxel ได้แก่ โลหิตจาง ติดเชื้อง่าย พิษต่อตับ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อย เป็นต้น
ยาสเตียรอยด์ (corticosteroids) สเตียรอยด์ กับ aldesleukin ทำให้ฤทธิ์การต้านมะเร็งของ aldesleukin ลดลง ไม่ได้ผลการรักษาจาก aldesleukin
สมุนไพรบางชนิด (herbal medicines) St. John's wort (นิยมใช้คลายกังวล) กับ imatinib หรือ irinotecan ทำให้ระดับ imatinib หรือ irinotecan ในกระแสเลือดลดลง ไม่ได้ผลการรักษาจาก imatinib หรือ irinotecan
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ขัดขวางการขับออกของ methotrexate ที่ไต ทำให้ระยะเวลาที่ methotrexate อยู่ในกระแสเลือดยาวนานขึ้น อาจเกิดพิษจาก methotrexate ได้แก่ พิษต่อตับ พิษต่อไต เลือดออกง่าย เห็นภาพเบลอ เป็นต้น
ยากันชัก (anticonvulsants) carbamazepine, phenobarbital หรือ phenytoin กับ irinotecan ทำให้ระดับ irinotecan ในกระแสเลือดลดลง ไม่ได้ผลการรักษาจาก irinotecan

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างยาบางชนิดที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้เท่านั้น การใช้ยาให้เกิดประสิทธิผล ในการรักษาและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Scripture CD, Figg WD. Drug interactions in cancer therapy. Nat Rev Cancer 2006;6(7):546-58.
  2. Flockhart DA. Drug Interactions: Cytochrome P450 Drug Interaction Table. Indiana University School of Medicine (2007). http://medicine.iupui.edu/clinpharm/ddis/table.aspx. Accessed 12/06/2013.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ตกขาว .. รักษาอย่างไร 1 วินาทีที่แล้ว
กระท้อน 24 วินาทีที่แล้ว
แอสไพริน (aspirin) 41 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 44 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้