เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


โรคกระดูกพรุน


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: http://www.wsj.com/articles/more-support...1455575920
อ่านแล้ว 19,369 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 22/05/2559
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ร่างกายคนเรามีแคลเซียมร้อยละ 1-2 ของน้ำหนักตัว ร้อยละ 99 ของจำนวนนั้นพบในกระดูกและฟัน(โครงร่างร่างกายและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียม) และพบในเลือด แคลเซียมในเลือด จะช่วยควบคุมอัตราการหายใจ และความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของเซลล์เลือด และมีบทบาทสำคัญต่อกล้ามเนื้อและประสาท ถ้าปริมาณแคลเซียมในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นตะควิว และมีผลต่อการรับส่งสัญญาณระหว่างสมองและเซลล์ประสาท แคลเซียมจึงเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นมากต่อสุขภาพ

ร่างกายต้องการแคลเซียมในแต่ละวันสูง โดยเฉพาะวัยเด็กถึงวัยรุ่น (4 – 18 ปี) วัยชรา (มากกว่า 70 ปี) และหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และเกณฑ์กำหนดปริมาณที่รับได้สูงสุดเกือบ 2 เท่า จึงไม่พบอาการการได้รับแคลเซียมมากเกิน โดยปกติแคลเซียมทำงานร่วมกับฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศจะช่วยการสะสมแคลเซียมในกระดูกและฟัน เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรในแต่ละวัย หรือเกิดสภาวะโรคไต หรือการผิดปกติของฮอร์โมน ปริมาณแคลเซียมในเลือดลดลง จะมีการดึงแคลเซียมออกจากธนาคารแคลเซียม คือกระดูกและฟัน อาการที่พบเมื่อได้รับแคลเซียมน้อยไป คือ โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis
แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่พบในอาหารทั่วไป มากน้อยแตกต่างกันไป แคลเซียมมีความคงตัว ไม่เปลี่ยนสภาพเมื่อผ่านความร้อน หรือกระบวนการปรุงอาหาร คนที่กินอาหารปกติจะไม่ขาดแคลเซียม และฮอร์โมนเพศ จะช่วยสะสมแคลเซียมในกระดูก การสะสมแคลเซียมมากในกระดูกเกิดขึ้นในวัยเด็กถึงวัยรุ่น (4 – 18 ปี) ถ้าอยากให้กระดูกแข็งแรงและมวลกระดูกหนาแน่นต้องออกกำลังกายหรือเดินให้มาก เพราะแรงโน้มถ่วงจะทำให้กระดูกรับน้ำหนักสะสมแคลเซียมได้เพิ่มขึ้น การเดินมากหรือน้อยในวัยเด็ก จะมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนในวัยชรา
นอกจากฮอร์โมนเพศที่ลดลงในคนสูงอายุ ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย ได้แก่
  1. ออกซาเรทและไฟเตทที่อยู่ในอาหารทั่วไป จะลดการดูดซึมแคลเซียม แต่สารทั้งสองนี้จะลดปริมาณลงเมื่อผ่านความร้อนหรือหมัก การมีอยู่ในอาหารสดก่อนปรุงจึงไม่ค่อยมีผลต่อแคลเซียม
  2. เกลือแร่แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก ลดการดูดซึมแคลเซียม
  3. โซเดียม (เค็ม) และแอลกอฮอร์ (เหล้า เบียร์) เพิ่มการขับแคลเซียมทางปัสสวะ
  4. สารอาหารโปรตีนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม แต่จะเพิ่มการขับแคลเซียมทางปัสสวะด้วย
  5. วิตามินดี เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร และช่วยไตและกระดูกรักษาระดับของแคลเซียมในเลือด ร่างกายคนปกติสร้างวิตามินดีได้จากแสงแดด
อาหารและกิจกรรมประจำวัน จึงมีความสำคัญต่อการปลดปล่อยแคลเซียมจากกระดูก ผลิตภัณฑ์นม (dairy foods) มีแคลเซียมสูง พบว่านม 3 ถ้วยจะให้แคลเซียม 900 มก. เมื่อร่างกายได้รับรวมกับแคลเซียมจากอาหารอื่นๆในแต่ละวันก็เพียงพอสำหรับร่างกายโดยไม่ต้องดึงจากกระดูก อาหารอื่นที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ เต้าหู้ เมล็ดธัญพืช ผักใบเขียว ปลาซาดีน ปลาเล็กปลาน้อย และหอย เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารหาง่ายและทานกันเป็นประจำ คนปกติที่ทานผลิตภัณฑ์นมและอาหารได้ จึงไม่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเสริมจากผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแคลเซียม ที่สำคัญควรออกกำลัยกายและรับแสงแดดเพื่อสร้างวิตามินดีที่เสริมการทำงานของแคลเซียมโดยเฉพาะในวัยเด็กถึงวัยรุ่น เพื่อไม่ให้เป็นโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://th.theasianparent.com
  2. Caraballo M, Shimasaki S, Johnston K, Tung G, Albright K, Halbower AC. Knowledge, Attitudes, and Risk for Sudden Unexpected Infant Death in Children of Adolescent Mothers: A Qualitative Study. The Journal of pediatrics. 2016.
  3. Cullen D, Vodde CR, Williams KJ, Stiffler D, Luna G. Infant Co-Bedding: Practices and Teaching Strategies. Journal for specialists in pediatric nursing : JSPN. 2016;21(2):54-63.
  4. Erck Lambert AB, Parks SE, Camperlengo L, Cottengim C, Anderson RL, Covington TM, et al. Death Scene Investigation and Autopsy Practices in Sudden Unexpected Infant Deaths. The Journal of pediatrics. 2016.
  5. Sarquella-Brugada G, Campuzano O, Cesar S, Iglesias A, Fernandez A, Brugada J, et al. Sudden infant death syndrome caused by cardiac arrhythmias: only a matter of genes encoding ion channels? International journal of legal medicine. 2016;130(2):415-20.
-->


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคกระดูกพรุน 1 วินาทีที่แล้ว
ยาต้านมะเร็ง 1 นาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้