ร่างกายคนเรามีแคลเซียมร้อยละ 1-2 ของน้ำหนักตัว ร้อยละ 99 ของจำนวนนั้นพบในกระดูกและฟัน(โครงร่างร่างกายและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียม) และพบในเลือด แคลเซียมในเลือด จะช่วยควบคุมอัตราการหายใจ และความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของเซลล์เลือด และมีบทบาทสำคัญต่อกล้ามเนื้อและประสาท ถ้าปริมาณแคลเซียมในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นตะควิว และมีผลต่อการรับส่งสัญญาณระหว่างสมองและเซลล์ประสาท แคลเซียมจึงเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นมากต่อสุขภาพ
ร่างกายต้องการแคลเซียมในแต่ละวันสูง โดยเฉพาะวัยเด็กถึงวัยรุ่น (4 – 18 ปี) วัยชรา (มากกว่า 70 ปี) และหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และเกณฑ์กำหนดปริมาณที่รับได้สูงสุดเกือบ 2 เท่า จึงไม่พบอาการการได้รับแคลเซียมมากเกิน โดยปกติแคลเซียมทำงานร่วมกับฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศจะช่วยการสะสมแคลเซียมในกระดูกและฟัน เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรในแต่ละวัย หรือเกิดสภาวะโรคไต หรือการผิดปกติของฮอร์โมน ปริมาณแคลเซียมในเลือดลดลง จะมีการดึงแคลเซียมออกจากธนาคารแคลเซียม คือกระดูกและฟัน อาการที่พบเมื่อได้รับแคลเซียมน้อยไป คือ
โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis
แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่พบในอาหารทั่วไป มากน้อยแตกต่างกันไป แคลเซียมมีความคงตัว ไม่เปลี่ยนสภาพเมื่อผ่านความร้อน หรือกระบวนการปรุงอาหาร คนที่กินอาหารปกติจะไม่ขาดแคลเซียม และฮอร์โมนเพศ จะช่วยสะสมแคลเซียมในกระดูก
การสะสมแคลเซียมมากในกระดูกเกิดขึ้นในวัยเด็กถึงวัยรุ่น (4 – 18 ปี) ถ้าอยากให้กระดูกแข็งแรงและมวลกระดูกหนาแน่นต้องออกกำลังกายหรือเดินให้มาก เพราะแรงโน้มถ่วงจะทำให้กระดูกรับน้ำหนักสะสมแคลเซียมได้เพิ่มขึ้น การเดินมากหรือน้อยในวัยเด็ก จะมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนในวัยชรา
นอกจากฮอร์โมนเพศที่ลดลงในคนสูงอายุ ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย ได้แก่
- ออกซาเรทและไฟเตทที่อยู่ในอาหารทั่วไป จะลดการดูดซึมแคลเซียม แต่สารทั้งสองนี้จะลดปริมาณลงเมื่อผ่านความร้อนหรือหมัก การมีอยู่ในอาหารสดก่อนปรุงจึงไม่ค่อยมีผลต่อแคลเซียม
- เกลือแร่แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก ลดการดูดซึมแคลเซียม
- โซเดียม (เค็ม) และแอลกอฮอร์ (เหล้า เบียร์) เพิ่มการขับแคลเซียมทางปัสสวะ
- สารอาหารโปรตีนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม แต่จะเพิ่มการขับแคลเซียมทางปัสสวะด้วย
- วิตามินดี เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร และช่วยไตและกระดูกรักษาระดับของแคลเซียมในเลือด ร่างกายคนปกติสร้างวิตามินดีได้จากแสงแดด
อาหารและกิจกรรมประจำวัน จึงมีความสำคัญต่อการปลดปล่อยแคลเซียมจากกระดูก ผลิตภัณฑ์นม (dairy foods) มีแคลเซียมสูง พบว่านม 3 ถ้วยจะให้แคลเซียม 900 มก. เมื่อร่างกายได้รับรวมกับแคลเซียมจากอาหารอื่นๆในแต่ละวันก็เพียงพอสำหรับร่างกายโดยไม่ต้องดึงจากกระดูก อาหารอื่นที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ เต้าหู้ เมล็ดธัญพืช ผักใบเขียว ปลาซาดีน ปลาเล็กปลาน้อย และหอย เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารหาง่ายและทานกันเป็นประจำ คนปกติที่ทานผลิตภัณฑ์นมและอาหารได้ จึงไม่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเสริมจากผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแคลเซียม
ที่สำคัญควรออกกำลัยกายและรับแสงแดดเพื่อสร้างวิตามินดีที่เสริมการทำงานของแคลเซียมโดยเฉพาะในวัยเด็กถึงวัยรุ่น เพื่อไม่ให้เป็นโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ