Eng |
อาจารย์ ดร.ภญ.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ และ อาจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านบทความ “อันตรกิริยาระหว่างส้มโอกับยา (ตอนที่ 1)
รายชื่อยาที่สามารถเกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตได้ ได้ถูกรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้ โดยในตารางได้ระบุชื่อยา รวมทั้งแนวโน้มที่จะเกิดอันตรกิริยา อาการที่อาจเกิด และรายชื่อยาที่สามารถใช้ทดแทนยาตัวนั้นๆ ได้หากต้องการรับประทานเกรปฟรุตหรือส้มโอ ซึ่งยาที่ใช้ทดแทนนี้จะให้ผลในการรักษาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่ทำให้เกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตหรือส้มโอ
(หมายเหตุ: ยังมียาอื่นๆ ที่มีรายงานว่าสามารถเกิดอันตรกิริยากับเกรปฟรุตได้ที่ไม่ได้ถูกรวบรวมมาไว้ในตารางนี้ แต่ท่านผู้อ่านสามารถตรวจสอบได้ในฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรุตกับยาหรือฐานข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ระบุชนิดของอาหารที่ควรระวังเมื่อรับประทานยานั้นๆ ได้โดยตรง)
อย่างไรก็ตาม การเกิดอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรุตหรือส้มโอกับยาและการตอบสนองต่อสาร Bergamottin ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณของเอนไซม์ Cytochrome P450 ที่มีอยู่ในร่างกายของคนนั้นๆ เพราะฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นในคนๆ หนึ่งอาจไม่เกิดขึ้นกับอีกคนก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การสังเกตตัวเองหลังจากการรับประทานส้มโอพร้อมกับยา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อที่จะประเมินว่าเราสามารถรับประทานส้มโอพร้อมกับยาที่เราใช้อยู่ได้หรือไม่ การงดรับประทานส้มโอไปเลย เป็นสิ่งที่ผู้เขียนไม่แนะนำ เนื่องจากว่า ส้มโอนั้น มีแร่ธาตุและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย
รายงานการเกิดพิษอย่างรุนแรงจากการรับประทานยาพร้อมกับเกรปฟรุต ซึ่งเกิดขึ้นในต่างประเทศ ได้ถูกรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้ ซึ่งตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เกิดพิษจากยาที่ค่อนข้างรุนแรงนั้น ได้รับประทานเกรปฟรุตหรือน้ำเกรปฟรุตในปริมาณที่ค่อนข้างสูงหรือต่อเนื่องกัน ดังต่อไปนี้
ซึ่งจากตารางนี้ พบว่าหากผู้ป่วยมีการรับประทานเกรปฟรุตในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ก็จะเกิดพิษค่อนข้างเยอะ แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าสารกลุ่ม Fluranocoumarins ในส้มโอนั้นมีน้อยกว่าที่พบในเกรปฟรุต ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและส้มโอนั้นก็จะมีน้อยลงและผลเสียที่เกิดขึ้นก็จะรุนแรงน้อยกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรายังต้องพิจารณาถึงปริมาณส้มโอที่รับประทานเข้าไปด้วย เพราะถึงจะมีสารกลุ่ม Fluranocoumarins น้อยกว่าเกรปฟรุตเกือบครึ่ง แต่หากเรารับประทานส้มโอในปริมาณที่มากกว่าปริมาณเกรปฟรุต (ที่แสดงเป็นตัวอย่างในตาราง) เป็นเท่าตัว โอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาที่รุนแรงก็อาจมีได้
มีการวิจัยพบว่า การยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 และปริมาณสาร Bergamottin ในเกรปฟรุต สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำเกรปฟรุต หรือน้ำส้มโอที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับน้ำเกรปฟรุตหรือน้ำส้มโอได้เพื่อใช้ในผู้ป่วยเฉพาะราย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลิตภัณฑ์น้ำ เกรปฟรุตที่ทำให้ปลอดสาร Fluranocoumarins จำหน่ายแล้วในต่างประเทศ แต่ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตเพิ่มเข้ามาด้วย
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา ก็พอสรุปได้ว่า ในกรณีที่ต้องใช้ยาตามรายการที่กล่าวมา ก็อาจต้องระวังการรับประทานส้มโอร่วมกัน โดยไม่ทานเยอะเกินไป หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมกับยา โดยไม่จำเป็นต้องงดหรือหยุดรับประทานส้มโอไปเลย ชีวิตก็มีความสุขได้เหมือนเดิมคะ