เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ


รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 42,301 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 11/09/2556
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

เมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านสุขภาพ และสิทธิด้านสุขภาพ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้โดยใช้กระบวนการทางกฎหมาย กล่าวคือ

 

  1. การฟ้องทางคดีอาญา : เมื่อผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายถึงชีวิต หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจอันเนื่องมาจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือการรับบริการด้านสุขภาพ หรือถูกหลอกลวง ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) และตำรวจจะส่งฟ้องคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน โดยเฉพาะการมีเจตนา เล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลให้เป็นอย่างนั้น หรือประมาท ผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษอาญา และผู้เสียหายสามารถนำผลจากการพิจารณาคดีอาญาไปฟ้องต่อในทางแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไป
  2. การฟ้องทางคดีแพ่ง : ในกรณีที่ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสียหายกับชีวิต สุขภาพ หรือทรัพย์สิน เข้าข่ายการละเมิด หรือ การกระทำที่เข้าข่ายการผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ปัจจุบัน มี พรบ วิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค และ พรบ.ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย สามารถช่วยผู้บริโภค ฟ้องคดีทางแพ่งได้มาก เพราะสร้างสมดุลย์ระหว่าง 2 ฝ่าย

ปัญหาคือกระบวนการเข้าถึงความยุติธรรมนั้นยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีอาญาซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ผู้กล่าวหาต้องแสดงหลักฐานให้ครบ มีภาระในการพิสูจน์ต่อศาลโดยปราศจากข้อสงสัย สำนวนคดีต้องสมบูรณ์ ต่างจากระบบไต่สวนที่ให้ศาลสามารถสืบความเองได้ ศาลจะช่วยแก้ไขข้อที่ไม่ถูกต้องได้ เช่น ศาลคดีผู้บริโภคหรือศาลแรงงาน ส่วนในกรณีของคดีทางแพ่ง ผู้บริโภคก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการในการพิทักษ์สิทธิ์ อย่างไรก็ดีผู้บริโภคสามารถขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือองค์กรผู้บริโภค เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อช่วยดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เสียหายสามารถร้องต่อสภาวิชาชีพเพื่อให้ลงโทษทางจรรยาบรรณวิชาชีพได้อีกทาง
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าด้านการคุ้มครองผู้บริโภครับผิดชอบในการบังคับใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับโทษทางอาญา หลายฉบับ เช่น พรบ. ยา พรบ. อาหาร พรบ.สถานพยาบาล เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
กฏหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522, ประมวลกฎหมายอาญา, จริยธรรมจากสภาวิชาชีพ ของแพทยสภา สภาทันตแพทย สภาเภสัชกรรม สภาพยาบาล, กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข, กฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์, ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 8 ในเรื่องของ การคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ที่สำคัญมี 3 ด้านคือ

  1. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัย หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  2. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านความเป็นธรรม ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม
  3. องค์กรที่มีวัตถุประสงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคโดยรวม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ) จังหวัดและท้องถิ่น คณะทำงานการสาธารณสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต และคุ้มครองผู้บริโภค (สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
    องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อสาธารณะประโยชน์ องค์กรภาคประชาชน องค์อิสระ และ องค์วิชาชีพ ที่มีบทบาทมาก เช่น
    1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
    2. สภาวิชาชีพ
    3. องค์กรอิสระด้านผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
    4. แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)
    5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
    6. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน
    7. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภา
    8. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด (คคจ.)
แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้