Eng |
รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านสุขภาพ และสิทธิด้านสุขภาพ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้โดยใช้กระบวนการทางกฎหมาย กล่าวคือ
ปัญหาคือกระบวนการเข้าถึงความยุติธรรมนั้นยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีอาญาซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ผู้กล่าวหาต้องแสดงหลักฐานให้ครบ มีภาระในการพิสูจน์ต่อศาลโดยปราศจากข้อสงสัย สำนวนคดีต้องสมบูรณ์ ต่างจากระบบไต่สวนที่ให้ศาลสามารถสืบความเองได้ ศาลจะช่วยแก้ไขข้อที่ไม่ถูกต้องได้ เช่น ศาลคดีผู้บริโภคหรือศาลแรงงาน ส่วนในกรณีของคดีทางแพ่ง ผู้บริโภคก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการในการพิทักษ์สิทธิ์ อย่างไรก็ดีผู้บริโภคสามารถขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือองค์กรผู้บริโภค เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อช่วยดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เสียหายสามารถร้องต่อสภาวิชาชีพเพื่อให้ลงโทษทางจรรยาบรรณวิชาชีพได้อีกทาง
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าด้านการคุ้มครองผู้บริโภครับผิดชอบในการบังคับใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับโทษทางอาญา หลายฉบับ เช่น พรบ. ยา พรบ. อาหาร พรบ.สถานพยาบาล เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
กฏหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522, ประมวลกฎหมายอาญา, จริยธรรมจากสภาวิชาชีพ ของแพทยสภา สภาทันตแพทย สภาเภสัชกรรม สภาพยาบาล, กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข, กฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์, ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 8 ในเรื่องของ การคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ที่สำคัญมี 3 ด้านคือ