เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: httpwww.yesspathailand.comimagescolumn_1...03-335.gif
อ่านแล้ว 26,140 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 07/10/2559
อ่านล่าสุด 6 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของอายุรเวทของอินเดีย จะเห็นได้จากศัพท์แพทย์เป็นภาษาบาลี สันสกฤต โดยที่มองว่าระบบการทำงานของร่างกายนั้น มี 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบวาตะ ปิตตะ และ เสมหะหรือคัพภะ หรือไตรโดชา (Tri Dosha) โดยระบบวาตะเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภายในร่างกาย รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบการเคลื่อนขึ้นหรือลงภายในร่างกาย ระบบหายใจ เป็นต้น ระบบปิตตะ เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหาร กระบวนการแยกสลาย (catabolism) ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความเสื่อมชรา เป็นต้น ระบบเสมหะ เกี่ยวข้องกับระบบหล่อลื่น ระบบเอนไซม์ ระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการสร้าง (anabolism) เป็นต้น
 
ร่างกายประกอบด้วยธาตุรูป 4 ชนิด คือ ปถวีธาตุ 20 ประการ อาโปธาตุ 12 ประการ วาโยธาตุ 6 ประการ และเตโชธาตุ 4 ประการ ทั้งหมดรวม 42 ประการ ถูกจัดรวมเป็นระบบมหาภูตรูป ย่อรวมเหลือกองละ 3 เพื่อประโยชน์ในการตั้งตำรับยาบำรุงรักษาร่างกายดังแสดงในตารางที่ 1
 
ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนของมหาภูตรูป คือการเปลี่ยนของสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากฤดูกาล ร่างกายต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการเสียสมดุลและนำมาซึ่งความไม่สบาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ คือกำเริบ หย่อน และ พิการ ในการปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถทำงานเป็นปรกติแข็งแรงอยู่เสมอ มีพิกัดเบญจกูลประกอบด้วยสมุนไพรประจำธาตุทั้ง 4 และอากาศธาตุ ดังในตารางที่ 2
 
แพทย์ไทยได้กำหนดส่วนผสมของสมุนไพรเพื่อปรับสมดุลมหาภูตรูปทั้ง 3 กองของธาตุสมุฏฐานทั้ง 4 ไว้แล้ว ดังแสดงในตารางที่ 3-6
 
อนึ่ง การนับเดือนตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเป็นการนับตามจันทรคติอาศัยข้างขึ้นข้างแรมในการนับเดือน มีศัพท์ที่สัมพันธ์กับจักราศี มีเดือนแรกเรียกว่าเดือนอ้าย คือเดือนธันวาคม เริ่มนับการขึ้นต้นเดือนที่แรม 1 ค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำในเดือน ถัดไปดังในตารางที่ 7
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 26-28.
  2. พระคัมภีร์สรรพคุณ ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 331-333, 380-382.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคติดเกม 30 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้