เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ลูก ... นวัตกรรมของพ่อแม่


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 10,324 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 26/06/2558
อ่านล่าสุด 2 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าขึ้นกับคนในชาติ..คนต้องเก่งและดี

คนมาจากไหน..คงไม่มีใครปฏิเสธว่า...มาจากพ่อแม่

พ่อแม่ร่วมกันสร้างลูกทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกายที่มีอวัยวะครบตามพันธุกรรม ออกจากครรภ์มาเจริญเติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง ด้านจิตใจมาจากสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู จากไข่จนเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ลูกจึงเป็นนวัตกรรมของพ่อแม่ 
 
พฤติกรรมของลูกขึ้นกับพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่ไม่ดูแลเองปล่อยให้เขาเติบโตกับคนอื่นและในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีการควบคุม ก็คือการจัดการของพ่อแม่ให้เขาเป็นอย่างนั้น 
ตั้งแต่ทารกลืมตาดูโลก ความรู้/สำนึก/จิตใจยังว่างเปล่า นิสัยต่างๆ เกิดขึ้นจากสภาวะรอบตัวและการใส่ใจดูแล ลองคิดแบบทารกที่มองเห็นคนและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เขาจะสัมผัสบ่อยๆจนรับรู้ว่า..แบบนี้แปลว่าโมโห/กังวล/สนุกสนาน/ตกใจ/น่ากลัว/... ยังฟังภาษาพูดไม่รู้เรื่อง สัมผัสสิ่งต่างๆจากภาษากาย เขาเริ่มรับทราบอารมณ์และแสดงอาการต่างๆ ออกมาทางกาย (ภาษากาย) โดยเลียนแบบสิ่งที่เห็น นี่เป็นข้อยืนยันว่าพ่อแม่ต้องจัดการควบคุมสภาวะแวดล้อมของลูก เพื่อให้นวัตกรรมชิ้นนี้สมบูรณ์แบบ..เก่งและดี 
การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ในที่นี้ขอแนะนำการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือในการจัดการสภาวะแวดล้อมที่ดีของลูก 
กีฬาหมายถึงเกมส์ที่มีข้อกำหนดหรือกติกาหรือพูดง่ายๆ มีเป้าหมายที่ต้องปฏิบัติ การออกกำลังกาย ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานมากขึ้น ระบบกล้ามเนื้อ หายใจ หัวใจ ที่สำคัญสมองก็ต้องทำงาน การออกกำลังกายอย่างมีกติกา หรือ 
การฝึกเล่นตามเกณฑ์กำหนด ก็คือการเล่นกีฬา มีความสนุกและท้าทายร่วมด้วย เล่นตามกติกาเพื่อชนะ ไม่ต้องชนะใคร ชนะตัวเองก็สำเร็จแล้วในชีวิต และเกิดสิ่งดีอีกมายมาย เช่น

  1. ความอดทน มุ่งมั่น เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง (กติกา) และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
  2. การวางแผน ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิชิตเป้าหมายให้ได้
  3. การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยขน์
  4. มีสมาธิ ต้องจดจ่อต่อเกมส์เพื่อให้เป็นไปตามกติกา ฝึกการอ่านเกมส์ เข้าใจเกมส์ให้มากขึ้น เพื่อใช้ในการวางแผนการเล่นในครั้งต่อๆไป
  5. เข้าใจ รู้จัก และอ่านใจคน ได้ดีขึ้น อยู่กับปัจจุบัน ใช้อดีต (การฝึกฝนซ้ำๆ)เป็นบทเรียนในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มุ่งสู่ความสำเร็จ
  6. ปรับตัวตลอดเวลาให้เข้ากับคน (ผู้ร่วมเล่น) อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่โทษสิ่ง/คนอื่น
  7. มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเห็นอกเห็นใจทุกคนมากขึ้น
  8. มีวินัย เพราะปฏิบัติตามกติกาเสมอ
  9. มีการตัดสินใจที่ดี รวดเร็วและได้ผลตรงเป้าหมาย การเล่นกีฬามักมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้นเสมอ
  10. มีความยุติธรรม ว่าตามกติกา มีน้ำใจนักกีฬา เอาชนะด้วยแผนและการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
  11. หลังเล่นกีฬา ร่างกายจะพักผ่อนเต็มที่ นอนหลับสบาย ตื่นขึ้นมาด้วยจิตใจแจ่มใส คิดบวก บุคลิกภาพดี มีสติและตื่นตัวอยู่เสมอ 
    กว่าลูกจะเล่นกีฬาได้ ต้องฝึกซ้อมเทคนิค ศึกษาระเบียบกติกา วางแผนการเล่นและพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดเวลา ต้องสร้างมนุษยสัมพันธ์กับทุกคนในการเล่น (เพื่อนร่วมทีม คู่แช่ง กรรมการ คนดูแลอุปกรณ์ เป็นต้น) กีฬาจึงทำให้ลูก..ดีและเก่ง..เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติ

ความยากคงอยู่ที่ทำอย่างไรให้ลูกอยากเล่นกีฬา..พ่อแม่ต้องเล่นกีฬานั่นเอง

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. การรักษาโลหิตจางในผู้ป่วยโรคไต [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nephrothai.org/nephrothai_boffice/images_upload/news/35/files/kidney%2081-93.pdf.
  2. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) Anemia Work Group. KDIGO clinical practice guideline for anemia in chronic kidney disease. Kidney Inter Suppl 2012;2:279–335.
  3. Prescribing information: Eprex®, Epoetin alfa. Janssen Cilag, 2013.
  4. Prescribing information: Recormon®, Epoetin beta. Roche, Mannheim, Germany, 02/2012.
  5. Prescribing information: Nesp®, Darbepoetin alfa. Teva Pharma Japan Inc, Takayama Plant, Japan, 04/2012.
  6. Prescribing information: Mircera®, Methoxy polyethylene glycol epoetin beta. Roche, Mannheim, Germany, 03/2011.

-->

เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


การเดินเพื่อสุขภาพ 5 วินาทีที่แล้ว
12 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้