เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ปัสสาวะเปลี่ยนสีหลังกินยา


เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 226,881 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 06/04/2558
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ลักษณะของปัสสาวะ ถือเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งมักจะมีการตรวจปัสสาวะแทบทุกครั้ง โดยปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนถึงปานกลาง แต่หากสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมอาจสร้างความกังวลใจให้กับทุกคนไม่น้อย ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะนั้นสามารถเกิดได้ทั้งจากโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก หรือมีการติดเชื้อ อักเสบ และเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ แล้วส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล เป็นต้น หรืออาหารบางชนิด เช่น การรับประทานแครอทปริมาณมาก อาจทำให้ปัสสาวะมีสีส้มแดงจากสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็อาจทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน ซึ่งเภสัชกรมักจะแจ้งผู้ป่วยขณะอธิบายวิธีการใช้ยา รวมทั้งอาจระบุไว้ในฉลากบนซองยา เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดังกล่าวของยา 
การเปลี่ยนสีของปัสสาวะจากยานั้น มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย และส่วนใหญ่เกิดจากสีของยาหรือสารที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงยา โดยอาจพบได้หลายสี เช่น สีส้ม-ชมพู-แดง หรือ สีน้ำตาล-ดำ หรือ สีเขียว-น้ำเงิน หรือ สีขาวขุ่น ดังแสดงในตาราง ทั้งนี้ ขึ้นกับชนิดของยา แต่บางครั้ง แม้เป็นยาชนิดเดียวกันก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของปัสสาวะได้แตกต่างกันในแต่ละคน เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่น ปริมาณยาที่ได้รับ (ปริมาณยามากอาจทำให้มีสีเข้มมาก) ปริมาณและสีเดิมของปัสสาวะ (เหลืองอ่อนหรือเข้ม ซึ่งจะผสมกับสีของยาแล้วได้สีใหม่) สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของปัสสาวะ โรคหรือภาวะเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้ร่วม เป็นต้น  
อย่างไรก็ตาม หากมีปัสสาวะเปลี่ยนสีขณะใช้ยา และไม่เคยทราบข้อมูลนี้มาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกร เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาลดไขมันในเลือดบางกลุ่ม หรือมีจ้ำเลือดตามตัวร่วมกับปัสสาวะสีแดงถึงน้ำตาล ขณะกำลังใช้ยาที่เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เช่น ยาแอสไพริน (aspirin) โคลพิโดเกรล (clopidogrel) และวาร์ฟาริน (warfarin) เป็นต้น หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G-6-PD deficiency) แล้วปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะในกรณีเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของยา


 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Aycock RD, Kass DA. Abnormal urine color. South Med J. 2012;105(1):43-47.
  2. Gill BC. Urine discoloration. Available at http://emedicine.medscape.com/article/2172371-overview.
  3. Revollo JY, Lowder JC, Pierce AS, Twilla JD. Urine discoloration associated with metronidazole: a rare occurrence. J Pharm Technol. 2014;30(2):54-56.
  4. Ong YY, Thong SY, Ng SY. Cloudy urine after propofol anesthesia; a rare occurrence after a routine anesthetic. J Anesth Clin Res 2014;5(8):432.
  5. Vanholder R, Sever MS, Erek E, Lameire N. Rhabdomyolysis. J Am Soc Nephrol. 2000;11(8):1553-1561.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้