เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ข้อควรระวัง การใช้มาสคาร่า และการต่อขนตาให้ยาวและหนาขึ้น


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 24,489 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 27/07/2557
อ่านล่าสุด 11 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

มาสคาร่า เป็นเครื่องสำอางที่ช่วยเน้นให้ดวงตาคมและเข้มขึ้น ช่วยเพิ่มความหนาและความยาวให้ขนตาดูดกดำ บางครั้งก็สามารถใช้ตกแต่งขนคิ้วได้เช่นกัน มี

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

การใช้มาสคาร่าจากสมัยอียิปต์โบราณ กรีกและชาวโรมัน ส่วนใหญ่ใช้กันมากในหมู่ดาราหนังที่มีการแสดงบนเวที ปัจจุบันเป็นความนิยมในสังคม ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงสาวใหญ่           สูตรตำรับของมาสคาร่า มีการพัฒนามาหลายยุคหลายสมัย ในอดีต (ค.ศ.1933) มีคนถึงขั้นตาบอดและถึงตายในที่สุดจากการใช้มาสคาร่าที่มีองค์ประกอบของสารเคมีที่รุนแรง ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกาต้องเข้าควบคุมผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางอย่างเข้มงวดตั้งแต่ปี ค.ศ.1938 เป็นต้นมา           ปัจจุบันมาสคาร่ามีพัฒนาการไปมากเพื่อให้สะดวกต่อผู้บริโภคในการใช้งาน องค์ประกอบหลักทางเคมีพื้นฐานที่คล้ายๆกันในหลายๆยี่ห้อคือ เม็ดสี น้ำมัน ไขหรือขี้ผึ้ง และสารกันเสีย รวมทั้งสารบำรุงเส้นขนให้แข็งแรง เช่น วิตามิน โปรตีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสูตรตำรับชนิดที่กันน้ำและชนิดไม่กันน้ำ คุณสมบัติของมาสคาร่าที่ช่วยให้เส้นขนตายืดยาวขึ้นและหนาขึ้น โดยใช้องค์ประกอบทางเคมีของสารกลุ่มไนล่อนหรือไมโครไฟเบอร์พวกเส้นไหมเรย่อน และสารจำพวกแป้งเปียกเพื่อให้มาสคาร่าเหนียวข้น เส้นขนตาจะได้หนาขึ้น ข้อควรระวังและอาการข้างเคียงจากการใช้มาสคาร่า

  1. เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการเห็นผลในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้มีการนำสารเคมีที่เป็นตัวยาในการรักษาโรคความดันตาสูงผิดปกติมาใส่ในมาสคาร่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดอยู่ในประเภท “ยา” ไม่ใช่เครื่องสำอาง การนำมาใช้เป็นมาสคาร่าในคนที่ไม่เป็นโรค ก่อให้เกิดอันตรายต่อเยื่อบุลูกตา สีม่านตาเปลี่ยน ตาบวมและอักเสบ และมีผลข้างเคียงต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ตัวยาสำคัญชนิดนี้มีประสิทธิผลทำให้เส้นขนดกดำและหนาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ดังนั้นหากมีโฆษณาชวนเชื่อเช่นนี้ขอให้ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงสินค้าดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศเตือนเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2011 ที่ผ่านไปถึงข้อห้ามการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว และให้ผู้บริโภคระวังสินค้าประเภทนี้
  2. แปรงปัดขนตา ควรเปลี่ยนทิ้งหลังการใช้งานนาน 4-6 เดือน และหากพบกลิ่นเปลี่ยนแปลง ควรทิ้งทันทีผลิตภัณฑ์ที่เหลือทันที เพราะองค์ประกอบทางเคมีของมาสคาร่าจะขึ้นเชื้อจุลินทรีย์ได้ง่าย หากใช้ต่อจะทำให้ตาอักเสบ คันและบวมเพราะติดเชื้อได้
  3. การต่อเส้นขนตา นอกจากมาสคาร่าแล้ว ยังมีการใช้ขนตาปลอมทำเป็นแผงโดยใช้เส้นใยไนลอนหรือโพลีเอสเตอร์และใช้เทปกาวเพื่อแปะติดกับหนังตาบน อาการข้างเคียงที่พบทั่วไป ทำให้ขนตาธรรมชาติหลุดร่วงง่าย ในบางรายที่ใช้ขนตาปลอมติดเป็นประจำ ขนตาธรรมชาติหลุดร่วงไปหมดอย่างถาวรก็มี นอกจากนี้เทปกาวอาจทำให้หนังตาระคายเคืองและอักเสบได้หากใช้ไม่ถูกต้อง และบางรายอาจมีอาการระคายเคืองจากการแพ้เทปกาว
  4. ความเสี่ยงที่สำคัญจากการใช้มาสคาร่าคือ การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เข้าตาระหว่างการใช้งาน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงควรระมัดระวังหัวข้อต่อไปนี้:
  5. ห้ามใช้มาสคาร่าระหว่างการขับรถ หรือรถกำลังเคลื่อนที่
  6. ห้ามเติมน้ำหรือน้ำลายลงในมาสคาร่าที่แห้งหรือเริ่มแห้ง เพราะเป็นการเติมเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนลงในมาสคาร่า
  7. ห้ามใช้มาสคาร่าร่วมกับผู้อื่น
  8. ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ หรือ “organic” หรือ ประกอบด้วยสารจากธรรมชาติ 100% “all natural” ไม่ได้แปลว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อผิวหนังเมื่อใช้งาน หรือไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเป็น “hypoallergenic.”
  9. มาสคาร่า ที่มีฉลากบ่งบอกคุณสมบัติ "Hypoallergenic" หมายความถึงว่า
  10. โอกาสในเกิดอาการแพ้น้อย แต่ไม่ได้หมายถึงไม่เกิดอาการแพ้เลย
  11. เป็นไปได้ที่จะเกิดการอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติรวมทั้งสารจากธรรมชาติ เช่น ลาโนลิน เป็นสารธรรมชาติสกัดจากขนแกะ และใช้กันมากในครีมบำรุงผิว แต่มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่มีอาการแพ้ทุกครั้งที่ใช้กับสารดังกล่าว ฯลฯ
  12. ให้จำไว้ว่า คำว่า “hypoallergenic” บนฉลากเครื่องสำอาง ไม่ได้รับรองว่าจะไม่เกิดอาการแพ้!


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้หวัดสำหรับเด็ก 16 วินาทีที่แล้ว
สารบำรุงตาจากพืชมีสี 16 วินาทีที่แล้ว
ยาไอซ์ (Ice) 21 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้