เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลต้อนรับทีมนักวิจัยนานาชาติ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการสารเภสัชรังสีวิจัยในระดับสากล

อ่านแล้ว 185 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567  

เมื่อวันพฤหัสบดีร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ศาศวัต วิศาลศิริกุล สังกัดภาควิชาเภสัชเคมี และ อาจารย์ ดร.ภก. ธีรวิชญ์ อัชฌาศัย สังกัดภาควิชาจุลชีววิทยา ร่วมให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ภญ.โอภา วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการเครือข่ายวิจัยโพรบระดับโมเลกุลสําหรับถายภาพตรวจวินิจฉัยโรค ภายใต้เครือข่ายวิจัยนานาชาติ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้นำทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับโลก ประกอบด้วย Helmholtz-Zentrum Dresden-Rossendorf (HZDR) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี UNN-PET Center ประเทศนอร์เวย์ Yale PET Center ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Peking University สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเยือนคณะฯ เพื่อเข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยระหว่างสถาบัน

โดยในการประชุมดังกล่าว ผู้บริหารคณะฯ และทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการประสานความร่วมมือในเครือข่ายวิจัยทางด้านสารเภสัชรังสีต่อไปในอนาคต หลังจากนั้นจึงเป็นการเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยของคณะฯ ได้แก่ ศูนย์ชีวเภสัชศาสตร์เพื่อสุขภาวะวัยชรา (Centre of Biopharmaceutical Science for Healthy Ageing, BSHA) และ ศูนย์วิจัยความจำเพาะเชิงโมเลกุลและพัฒนายาแบบบูรณาการ (Centre of Molecular Targeting and Integrated Drug Development, CMT-IDD) อีกด้วย

ทั้งนี้ ก่อนการเดินทางมาเยือนคณะฯ ทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการนานาชาติ ซึ่งจัดโดย เครือข่ายวิจัยโพรบระดับโมเลกุลสําหรับถายภาพตรวจวินิจฉัยโรค ภายใต้เครือข่ายวิจัยนานาชาติ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2567 นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน





Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


วิตามินและแร่ธาตุ 1 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้