เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลประชุมร่วมกับ SICRES เพื่อวางแผนงานวิจัยทางคลินิกของสมุนไพรในโครงการ “น่าน แซนด์บ๊อกซ์” 

อ่านแล้ว 190 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2566  

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 11.00-12.00 น. รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปองทิพย์ สิทธิสาร หัวหน้าทีมวิจัยสมุนไพรในโครงการ “น่าน แซนด์บ๊อกซ์” ได้เข้าประชุมร่วมกับผู้บริหารและทีมงานของ SICRES (Siriraj Institute of Clinical Research) นำโดย รองศาสตราจารย์ นพ.วินัย รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการ SICRES พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.สมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุล รองผู้อำนวยการ SICRES และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พญ.สุวิมล นิยมในธรรม และคณะ 

โดยการประชุมร่วมกันในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบงานวิจัยทางคลินิกที่จะทำการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจากสมุนไพรที่พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยสมุนไพรในโครงการ “น่าน แซนด์บ๊อกซ์” ซึ่งได้ผ่านกระบวนการทดสอบและพัฒนาตามระเบียบวิธีวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากล และเป็นไปตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตาม พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และได้รับคำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

การพัฒนายาสมุนไพรขั้นต่อไปคือการทำ randomized, controlled trial ตามมาตรฐานสากล Good Clinical Practice (GCP) โดยทางคณะฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากทาง SICRES ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกในการเป็นแหล่งการทำวิจัยทางคลินิกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก

ทั้งนี้ โครงการวิจัยสมุนไพรในโครงการ “น่าน แซนด์บ๊อกซ์” เป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิกสิกรไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ในจังหวัดน่าน ผลักดันให้เกษตรกรหยุดการทำลายป่าจากการปลูกพืชที่มีราคาต่ำ มาปลูกพืชสมุนไพรที่มีราคาสูงแทน ซึ่งจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลาย นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน





Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ไขมันทรานส์ 7 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้