เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


ภาควิชาเภสัชกรรมจัดพิธีปิดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ประจำปี 2566 (รอบการอบรมที่ 3)

อ่านแล้ว 456 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2566  

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 10.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดพิธีปิดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 รอบการอบรมที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานในพิธี และมอบประกาศนียบัตรให้แก่เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรม โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.พิชญา ดิลกพัฒนมงคล 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา และ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.วิภารักษ์ รัตนวิภานนท์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้อง 105 ชั้น 1 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม มีเภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ 
1) ภญ.ธนณัฏฐ์ แสงอังคนาวิน สาขาผู้สูงอายุ 
2) ภญ.อิสรีย์ ธนโสภณกุล สาขาผู้สูงอายุ
3) ภญ.กมลภศร พลราชา สาขาผู้สูงอายุ 
4) ภญ.พัชราภา มอดตะคุ หวังมีสรี สาขาโรคหัวใจวิกฤติ 
5) ภญ.ศศิธร สระศรี สาขาผู้ป่วยวิกฤติ 
6) ภญ.นวรัตน์ ด่านวัฒนา สาขาผู้ป่วยวิกฤติ
7) ภญ.อธิชา เทอดโยธิน สาขาผู้ป่วยวิกฤติ
8) ภญ.พิชญา มหานิล สาขาผู้ป่วยวิกฤติ
9) ภญ.ณัฐณิชา พลสุจริต สาขาโรคมะเร็งชนิดก้อน 
10) ภญ.วิภูสนา รักเขตกรณ์ สาขาโรคมะเร็งชนิดก้อน

ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 – 29 กันยายน 2566  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรที่เข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินและตัดสินใจในการรักษาด้วยยาและติดตามอาการของผู้ป่วยเฉพาะรายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มพูนทักษะในการให้คำแนะนำผู้ป่วยด้านยาและการเสริมสร้างสุขภาพในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถระบุปัญหาระหว่างยา การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา และสามารถป้องกันหรือติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ การฝึกอบรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ





Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


กระท้อน 32 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้