เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


ภาควิชาเภสัชเคมี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 3 เรื่อง การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อการจัดเตรียมผลวิเคราะห์ประกอบการขึ้นทะเบียนยา 

อ่านแล้ว 246 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2566  

เมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชเคมี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 3 เรื่อง การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อการจัดเตรียมผลวิเคราะห์ประกอบการขึ้นทะเบียนยา ภายใต้โครงการ Reinventing University : Drug Discovery & Development โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กิตติศักดิ์ ศรีภา หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี กล่าวเปิดการประชุม ณ ห้องประชุม 606 ชั้น 6 อาคารราชรัตน์ ซึ่งมีเภสัชกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 30 คน

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 23 มิถุนายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ทักษะและเทคนิคการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อจัดเตรียมข้อมูล สำหรับการขึ้นทะเบียนยาหรือยกระดับทักษะผู้ที่ทำงานด้านการวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์การทำงานกับเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ซึ่งหนึ่งในโครงการย่อยที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือการยกระดับทักษะอุตสาหกรรมยาไทย เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูนทักษะในด้านการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร โภชนเภสัช และเครื่องสำอางให้กับบุคคลภายในคณะ มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ ภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาขาเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง 

สำหรับเนื้อหาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจะเป็นการอบรมการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการ พิสูจน์เอกลักษณ์ ได้แก่ Fourier Transform Infrared spectrometer (FT-IR) และ Fourier Transform Near Infrared Spectrometer (FT-NIR) เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณ ได้แก่ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) และ Gas Chromatography (GC) เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบธาตุและสารเจือปน ได้แก่ Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometer (ICP-OES) ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ลงมือ ปฏิบัติจริงและได้ลองจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือนั้น ๆ สำหรับการขึ้นทะเบียนยา

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าว ยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 





Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้