เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 3)


รองศาสตราจารย์ ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุตี ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 129,983 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 21/05/2555
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยซึ่งมีการพัฒนามาจากระบบการแพทย์อายุรเวทของอินเดียได้จัดระบบสรีรวิทยาของร่างกายออกเป็นธาตุรูป 4 ชนิดคือ

ปถวีธาตุ

หรือ ธาตุดิน มีลักษณะที่คงรูป 20 ประการ ได้แก่ เกศา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตะโจ(ผิวหนัง) มังสัง(กล้ามเนื้อ) นหารู( เส้นเอ็น) อัฏฐิ(กระดูก) อัฏฐิมิญชัง(เยื่อหุ้มกระดูก) วักกัง (ม้าม) หทยัง (หัวใจ) ปิหกัง(ไต) ยกนัง(ตับ) ปับผาสัง(ปอด) กิโลมกัง(พังผืด) อันตัง(กระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่) อันตคุนัง(ไส้น้อย) อุทริยัง(อาหารใหม่) กรีสัง (อาหารเก่า) มัตถเก มัตถลุงคัง (เนื้อในสมอง)

อาโปธาตุ

หรือ ธาตุน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ไหลเวียน อาศัยธาตุดินเพื่อการคงอยู่ อาศัยธาตุลมเพื่อ การเคลื่อนที่ 12 ประการ ได้แก่ ปิตตัง(น้ำดี ) เสมหัง(เสลด) ปุพโพ(น้ำหนอง ) โลหิตตัง(น้ำเลือด ) เสโท (น้ำ เหงื่อ ) เมโท (มันข้น) อัสสุ(น้ำตา ) วสา (มันเหลว) เขโฬ(น้ำลาย) สิงฆานิกา(น้ำมูก ) ลสิกา(น้ำไขข้อ ) มุตตัง(น้ำปัสสาวะน้ำมูตร)

วาโยธาตุ 

หรือ ธาตุลม มีลักษณะของพลัง และการเคลื่อนที่ได้ ธาตุลมอาศัยธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นสื่อ ในการนำพาพลัง ขณะเดียวกันธาตุลมพยุงธาตุดินและ ทำให้ธาตุน้ำ เคลื่อนที่ได้ มี 6 ประการ อุทธังคมาวาตา (ลมพัดจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน เช่น การเรอ) อโคมาวาตา (ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างเช่น ผายลม) โกฏฐาสยาวาตา (ลมพัดในกระเพาะอาหารและลำไส้) กุจฉิสยาวาตา(ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้) อังคมังคานุสารีวาตา(ลมพัดทั่วร่างกาย) อัสสาสะปัสสาสะวาตา (ลมสำหรับหายใจเข้าออก)

เตโชธาตุ

หรือ ธาตุไฟ มีลักษณะของการเผาผลาญให้แหลกสลาย ให้ความร้อน ธาตุไฟทำให้ธาตุดินอุ่น มี 4 ประการ สันตัปปัคคี(ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นปกติ) ปริทัยหัคคี(ไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย ซึ่ง ทำให้เราต้องอาบน้ำและพัดวี) ชิรณัคคี(ไฟทำให้ชรา) ปริณามัคคี (ไฟย่อยอาหาร)

จากการแบ่งระบบสรีรวิทยาเป็นธาตุรูปทั้ง 4 มีการแบ่งความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากธาตุรูป เรียกว่าธาตุสมุฏฐานพิการ ดังนี้

ตารางที่ 1 สมุฏฐานปถวีพิการ

 

ในพระคัมภีร์สรรพคุณมีรายชื่อสมุนไพรที่ใช้บำบัดอาการที่เกี่ยวเนื่องกับปถวีธาตุพิการตามตัวอย่างในตารางที่ 2 อย่างไรก็ดีการใช้ยาแผนไทยนิยมใช้เป็นตำรับ เมื่อรู้สรรพคุณสมุนไพรก็สามารถนำไปใช้เลือกตำรับจากคัมภีร์ต่างๆได้

ตารางที่ 2 ตัวอย่างสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้อาการอันเนื่องมาจากปถวีธาตุพิการ

ตัวอย่างตำรับยา 

ยาอินทรีธาตุปถวี แก้อุจจาระ ปัสสาวะ ซึ่งวิปริตด้วยเตโชธาตุ ให้หิวโหยหาแรงมิได้ ตรีผลา ลูกมะตูมอ่อน เม็ดในโคกกระออม เทพทาโร แก่นกันเกรา ใบสะเดา ใบเสนียด ตุมกาแดง หัวกระเทียม สิ่งละส่วน สะค้าน เจตมูลเพลิง ขิง รากช้าพลู สิ่งละสองส่วน ดีปลี 20 ส่วน บดเป็นผง ละลายน้ำร้อน ส้มซ่า หรือกระเทียม กินแก้บวมทั้งตัว 

ยาประสระไพลแก้จุกเสียด ผิวมะกรูด 2 ตำลึง ว่านน้ำ 2 ตำลึง กระเทียม 2 ตำลึง หอม 2 ตำลึง พริกไทย 2 ตำลึง ดีปลี 2 ตำลึง ขิง 2 ตำลึง ขมิ้นอ้อย 2 ตำลึง เทียนดำ 2 ตำลึง เกลือสินเธาว์ 2 ตำลึง การบูน 1 บาท ไพลเท่าตัวยาทั้งหมด ตำเป็นผง ละลายน้ำร้อน

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


แก้วมังกร 1 นาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้