เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


อันตรกิริยา (ยาตีกัน) ของว่านหางจระเข้กับยาแผนปัจจุบัน


ณัฏฐณิชชา มหาวงษ์ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 33,670 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 06/05/2555
อ่านล่าสุด 7 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

 
ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมายและมีความปลอดภัยสูง จึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบรวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจรับประทานเป็นอาหารเสริมหรือเพื่อรักษาโรคร่วมกับยารักษาโรคแผนปัจจุบัน แต่จากรายงานในปัจจุบันพบว่าพืชสมุนไพรหลายชนิดเมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอาจก่อให้เกิดอันตรกิริยา (interaction) ได้ นั้นคือเมื่อใช้ยาและสมุนไพรร่วมกันแล้ว ทำให้ยานั้นมีฤทธิ์ในการรักษาเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลจากเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP) ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของยา ซึ่งเอนไซม์ CYP มีหลายไอโซฟอร์ม (isoform) เช่น CYP1A1, CYP2D6, CYP2E1 และ CYP3A4 เป็นต้น และว่านหางจระเข้ก็มีรายงานเกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้ มีรายงานการศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ (น้ำว่านหางจระเข้และวุ้นว่านหางจระเข้) ต่อการเหนี่ยวนำและการยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน CYP พบว่าน้ำว่านหางจระเข้ทำให้มีการ แสดงออกของโปรตีน CYP2C11, CYP2E1 และ CYP3A1 ใน microsome ของเซลล์ตับลดลง 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่วุ้นว่านห่างจระเข้ทำให้มีการแสดงออกของโปรตีน CYP2C1 ลดลง 50% และการแสดงออกของโปรตีน CYP1A2, CYP2E1 และ CYP3A1 เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม บางรายงานแสดงให้เห็นว่าน้ำว่านหางจระเข้ทำให้มีระดับโปรตีน CYP1A2 และ CYP3A4 เพิ่มขึ้นในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ LS180 ถึง 1.7 + 0.3 และ 1.8 + 0.4 เท่าของกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้ด้วยเอทานอลต่อการทำงาน ของเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 จากคน (recombinant human CYP) พบว่าน้ำว่านหาง จระเข้สามารถยับยั้งเอนไซม์ CYP โดยมีความเข้มข้นที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 8.35 + 0.72 และ 12.5 + 2.1 มก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP ทั้งอาศัยและไม่อาศัย nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADPH) แสดงให้เห็นถึงสารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 โดยผ่านกลไกที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันของ CYP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากน้ำว่าน หางจระเข้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 ผ่านสองกลไก ในรายงานนี้ยังชี้แนะว่าน้ำ ว่านหางจระเข้ไม่รบกวนเมตาบอลิซึมของยาในคน เนื่องจากปริมาณที่รับประทานตามปกติจะทำให้มีว่านหางจระเข้ในเลือดน้อยกว่าค่า IC50 มาก อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการทานยาพร้อมกับน้ำ ว่านหางจระเข้ เนื่องจากยังมีความคลุมเครือของข้อมูลว่าว่านหางจระเข้มีฤทธิ์กระตุ้นและ/หรือยับยั้งเอนไซม์ CYP และยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ CYP ได้หลายไอโซฟอร์ม ซึ่งอาจส่งผลเมื่อใช้ทางคลินิก ทั้งนี้ยังต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


6 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 7 วินาทีที่แล้ว
ยาลดไขมันในเลือด 30 วินาทีที่แล้ว
สมุนไพรแก้ไอ 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้