เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


แป๊ะตำปึง


รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 125,915 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 15/04/2555
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

 
แป๊ะตำปึง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura procumbens (Lour.) Merr. เป็นยาเย็น ตำรายาไทยและจีนใช้ใบสดตำละเอียดผสมสุราพอกปิดฝี แก้ฟกบวม แก้คัน แก้พิษอักเสบ แก้พิษแมลงกัดต่อย งูสวัด เริม 
งานวิจัยสมุนไพรแป๊ะตำปึงที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 พบว่า สารสกัดอัลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินมีคุณสมบัติต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง และพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ kaempferol ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ quercetin ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึง 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ (chemotherapy related mucositis) พบว่าสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ สมุนไพรแป๊ะตำปึงยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides และ 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึงเป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก พบว่า ปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก้

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


แป๊ะตำปึง 1 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้