เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เทคนิคป้อนยาสุนัขและแมวที่ไม่ยากอย่างที่คิด


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สพ.ญ.นรรฆวี แสงกลับ

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 6,018 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 24/05/2567
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

เชื่อว่าปัญหาหนึ่งที่เจ้าของสุนัขและแมวหลายท่านต้องเคยเจอนั่นก็คือปัญหาการป้อนยา เพราะหลายครั้งทั้งสุนัขและแมวไม่ให้ความร่วมมือจนทำให้การป้อนยาเป็นเรื่องที่ยากลำบาก รวมไปถึงการจับบังคับป้อนยาที่มากเกินไปอาจจะทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเครียดขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในแมวที่เป็นสัตว์ที่เครียดง่ายอยู่แล้ว โดยในครั้งนี้จึงขอมาแนะนำวิธีป้อนยาสุนัขและแมวที่เจ้าของสามารถทำได้เอง

วิธีการป้อนยาเม็ดในสุนัขและแมว

แมวเป็นสัตว์ที่เครียดง่าย การป้อนยาจึงควรทำด้วยความนุ่มนวลและรวดเร็ว โดยเริ่มจากนำน้องแมววางลงบนพื้นเรียบและมั่นคงในท่านั่ง โดยหันหน้าออกจากตัวของผู้จับ จากนั้นจับขาแมวไว้ หากแมวขัดขืนอาจจะใช้ผ้าเช็ดตัวห่อตัวจะทำให้แมวสงบโดยให้ผ้าขนหนูคลุมขาหน้าทั้งสองเพื่อป้องกันการข่วน การป้อนยาเม็ดสามารถทำได้โดยขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1.  ผู้ป้อนยาใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับหัวน้องแมวเงยหน้าขึ้นอย่างเบามือ
  2. ใช้มือข้างที่ถนัดหย่อนยาให้ลงไปบริเวณโคนลิ้น ณ จุดที่ลึกที่สุด จากนั้นปิดปากน้องแมวเพื่อให้กลืนยาลงไป

เคล็ดลับคือควรทำอย่างรวดเร็วที่สุดด้วยความเบามือเพื่อลดความเครียดจากการจับบังคับซึ่งทำให้น้องแมวไม่สบายใจได้

สำหรับสุนัขแล้ว โดยปกติจะมีระดับความยากในการป้อนยาไม่ยากเท่าในแมวเนื่องจากน้องจะมีความนิ่งมากกว่า การป้อนยาเม็ดนั้นสามารถทำได้โดยขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ให้นำมือข้างหนึ่งจับที่บริเวณจมูกหรือหน้าของสุนัขจากนั้นจับบริเวณที่ขากรรไกรบนของสุนัข วางนิ้วไว้ด้านหลังเขี้ยวทั้งสองข้าง จากนั้นยกปากขึ้นอย่างเบามือ
  2. ค่อย ๆ ดึงสุนัขให้แหงนหน้าขึ้นอย่างช้าๆ (หากสุนัขขัดขืนให้พักชั่วครู่ แล้วเริ่มต้นข้อแรกใหม่)
  3. ใช้มืออีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้จับสุนัข หยิบเม็ดยาด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ จากนั้นใช้นิ้วอื่นดันขากรรไกลล่างของสุนัขลงจากทางด้านข้าง
  4. ดันเม็ดยาเข้าไปจากทางด้านช้างปากของสุนัขให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นให้รีบปิดปากสุนัขในท่าแหงนคอ แล้วลูบคอสุนัขเบาๆ สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการเลียบริเวณปลายจมูกและปาก หากน้องแสดงพฤติกรรมนี้แปลว่าสุนัขกลืนยาลงไปแล้วนั่นเอง

เคล็ดลับคือการทำอย่างนุ่มนวลและรวดเร็ว เพราะการป้อนยาที่ช้าจะทำให้น้องหมารู้สึกทรมาน และไม่สบายใจ ส่งผลให้เกิดการคายออก หรือฝังใจจนกลัวการป้อนยาได้

วิธีการป้อนยาน้ำในสุนัขและแมว

การป้อนยาน้ำในสุนัขและแมวนั้นใช้วิธีใกล้เคียงกัน โดยแนะนำให้ใช้ที่ป้อนยาน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะที่มีลักษณะคล้ายหลอดฉีดยา (ไซริงค์) โดทำตามดังนี้

  1. เริ่มจากให้สุนัขหรือแมวอยู่ในท่านั่งเช่นเดียวกับตอนป้อนยาเม็ด แต่ไม่ต้องแหงนหน้าขึ้น ในแมวหากดิ้นหรือไม่ยอม อาจใช้ผ้าเช็ดตัวห่อตัวไว้เพื่อให้น้องแมวสงบลงได้
  2. จับหน้าสุนัขหรือแมวให้อยู่ขนานกับพื้นมากที่สุดเพื่อป้องกันการสำลัก 
  3. จากนั้นสอดไซริงค์ไปที่บริเวณช่องว่างระหว่างฟันกรามด้านข้าง และค่อย ๆ เดินยาอย่างช้า ๆ อาจหยุดให้เป็นช่วง ๆ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงอาจเกิดการสำลักได้

นี่ก็เป็นแนวทางการป้อนยาในสุนัขและแมวอย่างถูกต้องที่หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงหมั่นฝึกฝนอยู่เป็นประจำก็จะสามารถทำได้โดยไม่ยาก แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการป้อนยาเม็ดสุนัขและแมวให้ง่ายขึ้น เรียกกันว่า “ขนมตัวช่วยป้อนยา” หรือ Pet Pill Pocket ซึ่งมีลักษณะเป็นขนมที่มีกลิ่นและรสถูกปากสัตว์เลี้ยง โดยขนมตัวช่วยป้อนยานี้สามารถใส่เม็ดยาเข้าไปภายในได้ อีกทั้งยังมีความเหนียวทำให้สัตว์เลี้ยงไม่สามารถแยกยาออกจากตัวช่วยป้อนยาได้ แต่ก่อนที่จะใช้ตัวช่วยป้อนยาควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฤทธิ์ยาเสื่อมสภาพหรือไม่ได้ผลในกรณีที่เม็ดยาและขนมตัวช่วยป้อนยาทำปฏิกริยากัน ถึงแม้การป้อนยาสัตว์เลี้ยงจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเจ้าของหลายๆ ท่าน แต่การป้อนยาก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้น้องหมาสามารถหายจากโรคร้ายที่กำลังประสบอยู่ได้ อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ และขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์เพื่อที่จะได้ดูแลสัตว์เลี้ยงของเราได้อย่างถูกวิธีต่อไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Susan McCullough. Starting Out Right with Your New Dog: A Complete Guide. 1st ed. New York: Innova Publishing; 2004. P.97
  2. Susan Easterly. Your Older Cat: A Complete Guide to Nutrition, Natural Health Remedies, and Veterinary Care. 1st ed. New York: ‎ Fireside; 2002. P.101
  3. Dr. Catherine Tiplady. Tips and tricks on how to give your dog a tablet. RSPCA Pet Insurance. [อ้างอิงเมื่อ 09 เมษายน 2567]. อ้างอิงจาก: https://www.rspcapetinsurance.org.au/pet-care/dog-care/dog-tablet-tips-tricks
  4. The Vetstreet Team. How to Give Your Dog a Pill. Vet Street. [อ้างอิงเมื่อ 09 เมษายน 2567]. อ้างอิงจาก: https://www.vetstreet.com/dogs/how-to-give-your-dog-a-pill
  5. International Cat Care. How to give your cat a tablet. International Cat Care. [อ้างอิงเมื่อ 09 เมษายน 2567]. อ้างอิงจาก: https://icatcare.org/advice/how-to-give-your-cat-a-tablet/
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 วินาทีที่แล้ว
สัตว์เลี้ยงกับยา 1 นาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว
หญ้าปักกิ่ง 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้