เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 2


คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 19,066 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 10/07/2554
อ่านล่าสุด 6 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ห่อฟิล์ม 
สำหรับบรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะในตอนที่ 2 นี้ และตอนต่อๆ ไป จะอ้างอิงจากข้อกำหนดของบรรจุภัณฑ์ต้านการแกะหรือบ่งชี้ร่องรอยการแกะ ตามประมวลข้อบังคับของบรรจุภัณฑ์ในคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา1 และประมวลหลักเกณฑ์วิธีการสำหรับบรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาของประเทศออสเตรเลีย2

มีการใช้ห่อฟิล์มกันมาหลายสิบปีเพื่อการป้องกันผลิตภัณฑ์ยาจากบรรยากาศแวดล้อม ได้แก่ ไอน้ำและออกซิเจน เราสามารถแบ่งห่อฟิล์มตามรูปลักษณ์ได้ 3 แบบ ดังนี้

  1. ห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน
  2. ห่อฟิล์มปิดผนึกแบบครีบปลา
  3. ห่อฟิล์มหด

ห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน 
การห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน กระทำได้โดยดันผลิตภัณฑ์เข้าไปในแผ่นฟิล์มให้ทับซ้อนผลิตภัณฑ์ ต่อมาทบปลายทั้งสามด้านแบบห่อของขวัญดังรูป 1. บริเวณทบปลายที่ซ้อนกันจะถูกปิดผนึกโดยกดกับแท่งปิดผนึกที่ตั้งอุณหภูมิร้อนที่เหมาะสม ฟิล์มที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติปิดผนึกด้วยความร้อน ได้แก่ เซลโลเฟนที่เคลือบด้วยพอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ (PVDC) และยังเป็นเกราะที่ป้องกันความชื้นได้ดีการห่อที่ต้านการแกะที่ดีจะต้องปิดผนึกอย่างดี มีการพิมพ์และตกแต่งลวดลายที่ยากจะปลอมแปลง เพราะอาจมีการทำเทียมหรือเลียนแบบ ผิวพิมพ์บนกล่องบรรจุยาควรเป็นเคลือบเงาที่ไวต่อความร้อน เมื่อห่อมิดระหว่างปิดผนึกจะเกิดการยึดเกาะถาวรระหว่างฟิล์มกับกล่องกระดาษ การแกะห่อทำให้ลอกผิวกล่องออกไปไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อีก3


รูป 1. ระบบการห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน

ห่อฟิล์มปิดผนึกแบบครีบปลา 
ดังแสดงในรูป 2. การห่อที่ปิดผนึกแบบครีบปลา เป็นการห่อที่ไม่ต้องอาศัยผลิตภัณฑ์เป็นพื้นที่ให้ฟิล์มทับซ้อนเหมือนแบบแรก แต่จะใช้วิธีคลุมผลิตภัณฑ์ให้มิดจนถึงช่วงกลางด้านล่างของผลิตภัณฑ์ซึ่งถูกปิดผนึกด้วยลูกกลิ้งปิดผนึกตามยาว ส่วนด้านข้างจะปิดผนึกด้วยแท่งให้ความร้อน 2 ตัว ซึ่งไม่ต้องปิดผนึกโดยพิงบรรจุภัณฑ์ ทำให้สามารถเพิ่มแรงกดของการปิดผนึกได้ ทำให้ได้การปิดผนึกที่สมบูรณ์แข็งแรง3


รูป 2. ห่อปิดผนึกแบบครีบปลา

ห่อฟิล์มหด 
ห่อฟิล์มหดใช้หลักการบรรจุผลิตภัณฑ์ในฟิล์มเทอร์โมพลาสติกซึ่งยืดตัวตรง แต่เมื่อถูกความร้อน โมเลกุลพอลิเมอร์จะไม่เยือกแข็ง และกลับหดตัว ที่เห็นดังรูป 3. ฟิล์มถูกม้วนให้ทบตรงกลางอยู่ภายในม้วน เมื่อฟิล์มถูกหมุนคลายม้วนออกมาบนเครื่องห่อ จะเกิดฟิล์ม 2 ชั้นแยกกันโดยมีถุงลมอยู่ตรงกลาง ซึ่งสามารถสอดผลิตภัณฑ์เข้าไปได้ แท่งปิดผนึกรูปตัวแอลจะปิดผนึกส่วนที่เหลือจากการห่อและตัดแต่งส่วนเกินออก ผลิตภัณฑ์ที่ถูกห่ออย่างหลวมๆ จะเคลื่อนตัวผ่านอุโมงค์ร้อน ซึ่งจะทำให้ห่อหดตัวคลุมผลิตภัณฑ์ได้แน่น ฟิล์มที่นิยมใช้กัน ได้แก่ พอลิเอธิลีน (PE) พอลิโพรไพลีน (PP) และ พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) คุณสมบัติทางกายภาพที่ต้องคำนึงถึงมี การฉีกขาด และแรงที่ทำให้ฉีดขาด (tensile strength) การต้านการเจาะ และแรงหดตัว ข้อพิจารณาพิเศษต่างๆ ในการเลือกวัสดุจำเพาะกับผลิตภัณฑ์ ทำให้ห่อแบบฟิล์มหดมีบูรณาการที่เหมาะสม ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์แตกร้าวหรือเสียหาย เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ห่อจะต้องมีความยืดหยุ่นในการใช้งานและราคาไม่แพง3


รูป 3. ห่อแบบฟิล์มหด

วิธีการสังเกตร่องรอยการแกะ
การแกะห่อฟิล์มออกเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะทำให้เห็นร่องรอยการฉีกขาดเกิดขึ้น ผู้บริโภคจะต้องไม่ซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์จากห่อที่มีร่องรอยการแกะ ตรงห่อฟิล์มจะต้องออกแบบให้มี ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือรูปภาพที่ยากที่จะทำเทียมหรือเลียนแบบ เพื่อว่าหากมีการแกะห่อเพื่อปนปลอมผลิตภัณฑ์ เมื่อห่อกลับโดยใช้ห่อฟิล์มอันใหม่ จะทำได้ง่ายหากไม่ออกแบบดังที่ที่กล่าวมา แต่จะต้องใช้วิธีพิมพ์ตรงบนฟิล์มมาก่อนทำห่อ โดยไม่ใช้วิธีการติดฉลากกระดาษ เพราะจะมีการดึงฉลากกระดาษออกไปได้เพื่อที่จะกลับติดฉลากใหม่

บทความโดย: รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา
ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed. Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 8 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้