เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สุขภาพจิตในภาวะโรคระบาดใหญ่


รองศาสตราจารย์ ดร. จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://lh3.googleusercontent.com/proxy/...2Dhbkn5GmQ
อ่านแล้ว 4,373 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 04/04/2563
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


เป็นเวลาที่ยากลำบากสำหรับทุกคนเมื่อพบว่าเช้าวันหนึ่งเมื่อตื่นขึ้นมา ชีวิตประจำวันของเราถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เคยทำได้ ตอนนี้กลับทำไม่ได้ ในภาวะที่เรากำลังต่อสู้กับศัตรูที่มองไม่เห็นในสงครามเชื้อโรคครั้งนี้ ความเครียดและวิตกกังวลเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพจิตที่ดีเมื่อต้องใช้ชีวิตท่ามกลางภาวะวิกฤตนี้ 
 
ภาพจาก : https://lh3.googleusercontent.com/proxy/QywTSYkA_OolI-ppB9MOV4y8PRHGYOg9Lz4xnpaLp3UdXn8X5eTUAKmSOPGc-eZ6Inr-AxgKC9di2yxC77iklG4zCjVY3HKkjLzLDC2rtcTPitSGzi21bT01FeBEk5lP2Dhbkn5GmQ

  1. สิ่งแรกที่ควรทำ คือมองโลกในด้านบวก เมื่อต้องอยู่บ้านมากขึ้นในช่วงเวลานี้ ทำให้เราใช้ชีวิตช้าลง ให้เวลากับตนเองและครอบครัวได้อย่างเต็มที่ เป็นช่วงเวลาที่มีค่า ดังนั้นแทนที่จะรับฟังแต่ข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล ควรจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตั้งใจจะทำมานานแล้ว แต่ยังไม่มีเวลาหรือไม่มีโอกาสทำ เช่น อ่านหนังสือเล่มโปรด ฟังเพลง เล่นดนตรี จัดข้าวของในบ้านให้เป็นระเบียบ ทำสวน ปลูกพืชผักสวนครัวไว้ทำอาหารกินเอง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่สร้างความสุขแก่จิตใจ
  2. รับข่าวสารเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ทราบข่าวสถานการณ์ของโรค จำกัดเวลาการรับข่าวสารในแต่ละวัน รับข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น จากหน่วยงานรัฐบาล หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข ไม่ควรเสพข่าวแบบเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรระวังข่าวปลอม ข่าวลวงต่าง ๆ ที่เพิ่มความตื่นตระหนกและวิตกจริต
  3. อย่าปล่อยให้ตัวเองซึมเศร้าและวิตกกังวล ชีวิตในแต่ละวันต้องคอยวัดไข้ มีไอ จาม เจ็บคอหรือเปล่า การคาดเดาไม่ได้ว่าเหตุการณ์นี้จะจบลงเมื่อใด ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียด ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณได้กล่าวไว้ว่า “การต่อสู้กับ COVID-19 ครั้งนี้เป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร” การระบาดของโรคครั้งนี้อาจจะอยู่กับเรานานเป็นเดือน หลาย ๆ เดือน หรือเป็นปี เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโรคได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงและควบคุมตัวเราเองได้ จึงควรหาเวลาผ่อนคลายจิตใจ เช่น นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย โดยเน้นการออกกำลังกายภายในที่พักอาศัยและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น เดินเร็ว เต้นแอโรบิคหรือเล่นโยคะโดยเปิด YouTube กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ ฯลฯ
  4. สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ การระบาดใหญ่ของโรคครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราเกือบทุกด้าน เราจึงต้องมีสติอยู่กับปัจจุบัน ตั้งสติเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน สุขภาพ และฐานะทางการเงิน ทั้งของตัวเราเอง ครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามคำพระที่ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรจีรัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด
  5. รู้จักแบ่งปัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือกับมาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยงานของรัฐกำหนดขึ้น ในภาวะที่ยากลำบากนี้ นอกจากเราจะดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเราเองแล้ว เราอาจช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการบริจาคเงิน อุปกรณ์ หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็น เท่าที่เราสามารถจะทำได้ แม้กระทั่งการส่งกำลังใจและความปราถนาดีให้แก่กัน เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ดังที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน มีพระดำรัสว่า “ถ้าคิดได้ ให้ช่วยคิด ถ้าคิดไม่ได้ ให้ช่วยทำ ถ้าทำไม่ได้ ให้ความร่วมมือ ถ้าร่วมมือไม่ได้ ให้กำลังใจ แม้ให้กำลังใจไม่ได้ ให้สงบนิ่ง” ไม่แสดงอาการรังเกียจผู้ที่ติดเชื้อหรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่กักตุนสินค้าเกินความจำเป็น ไม่เอารัดเอาเปรียบขึ้นราคาสินค้า ฯลฯ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมให้สังคมเป็นทุกข์มากขึ้น และจะส่งผลลบกับอารมณ์และจิตใจของเราในที่สุด

ข้อแนะนำข้างต้นสามาถใช้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะโรคระบาด COVID-19 โรคระบาดอื่น ๆ หรือภัยพิบัติต่าง ๆ บทเรียนที่ได้จากสงครามโรคครั้งนี้ คือการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เรียนรู้การรักษาตัวให้รอดปลอดภัยในยามเกิดวิกฤต หยิบยื่นน้ำใจให้กัน รอคอยและชื่นชมยินดีเมื่อถึงเวลาที่เราสามารถกลับมาดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขอีกครั้ง ไปนั่งกินอาหารหรือดื่มกาแฟในร้านโปรด ออกไปทำมาหากินได้เหมือนปกติ ได้พบปะเพื่อนฝูงที่เคยเจอกันได้แค่ทางออนไลน์ หลังเมฆฝน ท้องฟ้าย่อมแจ่มใส 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. https://news.fiu.edu/2020/how-to-cope-with-the-stress-of-a-pandemic
  2. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/managing-stress-anxiety.html
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคคอตีบ 1 นาทีที่แล้ว
ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้