เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สมองเสื่อมกับยาที่ต้องระวัง


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://images.indianexpress.com/2016/09/...a-main.jpg
อ่านแล้ว 35,138 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 24/09/2560
อ่านล่าสุด 7 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก และภาพรวมของประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ “สังคมสูงวัย” (aged society) และในอีก 7-10 ปีข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (completed aged society) 
 
ภาพจาก : http://images.indianexpress.com/2016/09/dementia-main.jpg 
ดังนั้นโอกาสที่จะมีจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจึงสูงมากขึ้นตามลำดับ ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้หลายประเภท ตัวอย่างเช่น ภาวะสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), Vascular dementia, Lewy body dementia และ Frontotemporal dementia เป็นต้น 
โรคต่างๆ ที่นำมาสู่ภาวะสมองเสื่อมดังกล่าวข้างต้น แม้จะมีสาเหตุและพยาธิสภาพในสมองที่แตกต่างกัน แต่จะส่งผลทำให้สารสื่อประสาท (neurotransmitters) ในสมองหลายตัวมีปริมาณลดลง เช่น acetylcholine, , norepinephrine และ dopamine เป็นต้น สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ acetylcholine มีความสำคัญกับกระบวนการเก็บความจำ เมื่อมีปริมาณลดลงจึงทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีอาการหลงลืม ไม่สามารถจำเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในขณะที่ norepinephrine และ dopamine มีความสำคัญกับสมาธิ ความตั้งใจ แรงจูงใจ ในการทำงานต่างๆ ให้สำเร็จ เมื่อสารสื่อเหล่านี้ลดลงจะทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมขาดความกระตือรือร้น มีอารมณ์เฉยชา เซื่องซึมได้ 
ดังนั้นการใช้ยาที่มีผลลดการทำงานหรือต้านการทำงานของสารสื่อประสาทที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจส่งผลให้อาการหลงลืมหรืออาการเซื่องซึมในผู้ป่วยสมองเสื่อมยิ่งมีอาการเลวลงได้ 
 
กรณีต้องใช้ยารักษาอาการแพ้หรือน้ำมูกไหลซึ่งจะได้ผลดีจากการใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วง แต่ในผู้ป่วยสมองเสื่อมหากใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้ผู้ป่วยสับสน วุ่นวายมากขึ้น ควรเปลี่ยนไปใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วง เช่น loratadine, fexofenadine, desloratadine เป็นต้น เนื่องจากยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงจะไม่รบกวนการทำงานของ acetylcholine 
นอกจากนี้ยังมียาบางกลุ่มที่ไปคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้หย่อนตัวลงโดยไปลดการทำงานของสารสื่อประสาท norepinephrine เช่น ยาที่ใช้ในภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia) ได้แก่ terazosin, doxazosin, tamsulosin และ alfuzosin ยาเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าไปในสมองอาจจะทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วยมีอาการเซื่องซึม อ่อนแรง (asthenia) หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรใช้ในขนาดต่ำเท่าที่จำเป็น และติดตามอาการข้างเคียงเหล่านี้ในผู้ป่วยด้วย

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Kendrick J, Andrews E, You Z, et al. Cholecalciferol, Calcitriol, and Vascular Function in CKD: A Randomized, Double-Blind Trial. Clin J Am Soc Nephrol 2017:7
  2. Looman KIM, Jansen MAE, Voortman T, et al. The role of vitamin D on circulating memory T cells in children: The Generation R study. Pediatr Allergy Immunol 2017:7
  3. Shaw E, Massaro N, Brockton NT. The role of vitamin D in hepatic metastases from colorectal cancer. Clin Transl Oncol 2017:11
  4. Mabey T, Honsawek S. Role of Vitamin D in Osteoarthritis: Molecular, Cellular, and Clinical Perspectives. Int J Endocrinol 2015:383918
  5. Bolland MJ, Avenell A, Baron JA, et al. Effect of calcium supplements on risk of myocardial infarction and cardiovascular events: meta-analysis. BMJ 2010;341:c3691
  6. Manoy P, Anomasiri W, Yuktanandana P, et al. Elevated serum leptin levels are associated with low vitamin D, sarcopenic obesity, poor muscle strength, and physical performance in knee osteoarthritis. Biomarkers 2017;19:1-8
  7. Manoy P, Yuktanandana P, Tanavalee A, et al. Vitamin D supplement improves quality of life and physical performance in osteoarthritis patients. Nutrients 2017;9:799
  8. Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D. Washington, DC: National Academy Press, 2010

-->

เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้