แจ้งงดให้บริการเว็บไซต์ เนื่องจากมีการปรับปรุงระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของอาคาร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ม.ค. 2568 เวลา 17.00 น. ถึงวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2568 เวลา 08.00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ไอโอดีนกับสุขภาพ


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://www.vitaminsall.com/wp-content/up...ds/url.jpg
อ่านแล้ว 30,327 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 28/04/2560
อ่านล่าสุด 6 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ไอโอดีน เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาโบริก การสังเคราะห์โปรตีน การทำงานของเอ็นไซน์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบโครงสร้าง และระบบประสาทของตัวอ่อนและทารก การขาดไอโอดีนในทารกและเด็กจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้า มีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และมีสมาธิสั้น ในผู้ใหญ่จะเกิดคอพอก มีผลต่อสภาวะจิตใจและประสิทธิภาพการทำงาน การขาดอย่างต่อเนื่องเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ 
 
ภาพจาก : http://www.vitaminsall.com/wp-content/uploads/url.jpg 
ไอโอดีนเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จับอนุมูลอิสระในร่างกาย และยับยั้งผลของอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคความเสื่อมต่างๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อและกระดูก โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับตา เป็นต้น ไอโอดีนจะเสริมการสังเคราะห์คลอลาเจนทำให้แผลปิดเร็วขึ้น มีผลต่อหลอดเลือด กระดูกอ่อน และส่วนประกอบในลูกตา 
ไอโอดีน เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ เป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้ม ระเหิดให้ไอสีม่วง ไอโอดีนที่อยู่ในอาหารมักอยู่ในรูปเกลือ “ไอโอไดด์” มีสีขาวและละลายน้ำดี พบได้ในอาหารทั่วไป พบมากในสาหร่ายและอาหารทะเล ไอโอไดด์ดูดซึมได้ดีและรวดเร็วในกระเพาะและลำไส้ใหญ่ สำหรับเกลือไอโอเดทที่มีความคงตัวมากว่าจะถูกรีดิวส์ในทางเดินอาหารและดูดซึมในรูปไอโอไดด์ เข้าสู่กระแสเลือดไปที่ต่อมไธรอยด์เพื่อสังเคราะห์ไธรอยด์ฮอร์โมน ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในผู้ใหญ่สุขภาพสมบูรณ์จะมีไอโอดีน 15-20 มก. ซึ่งอยู่ในต่อมไธรอยด์ร้อยละ 70-80 ที่เหลืออยู่ในกล้ามเนื้อ เลือดและอวัยวะอื่นๆ คนทั่วไปที่รับประทานอาหารปกติ มักไม่ขาดไอโอดีน เพราะปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายต้องการไม่มากดังแสดงในตาราง 
 
ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ภาคอีสานของประเทศไทย เป็นพื้นที่ห่างไกลทะเลและใช้เกลือสินเทา จึงมีโครงการการใช้เกลือเสริมไอโอไดด์ เพื่อประกอบอาหาร โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเอ๋อ มีการพัฒนาการของสมองและร่างกายช้าในทารกและเด็ก โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ผสมเกลือปรุงอาหารด้วยเกลือโปตัสเซียมไอโอเดท โดยจะมีปริมาณไอโอดีนเฉลี่ย 47.5 ไมโครกรัมต่อกรัมของเกลือ 
ไอโอดีนใช้เป็นยาภายนอก เป็นยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อน (antiseptic) โดยทำเป็นรูปแบบยาเหน็บ ยาขี้ผึ้ง ยาน้ำผสมแอลกอกฮอล (ทิงค์เจอร์ เวลาใช้จะแสบมาก) และยาน้ำโพวิโดนไอโอดีน ซึ่งใช้ไอโอดีนในรูปที่ละลายน้ำได้ เป็นการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ไอโอดีนใช้ภายนอกที่ไม่แสบ 
สารละลายไอโอดีนเพียงหยดเดียวในน้ำแป้ง จะได้สารละลายสีม่วงแกมน้ำเงินอ่อน(ฟ้า)ถึงเข้ม ขึ้นกับปริมาณแป้ง ซึ่งผงแป้งนี้ถูกใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณหรือความข้นของผลิตภัณฑ์ ถือเป็นสารเจือปนเพื่อลดต้นทุน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เช่น ยาสีฟัน ผงซักฟอกทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ที่ดี (ราคาสูง) ไม่เติมแป้งหรือเติมอย่างเหมาะสม คงเคยเห็นบูทที่แสดงการทดสอบหยดน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม เพื่อทดสอบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ต่างยี่ห้อ ซึ่งเราก็สามารถทดสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ด้วยตนเองโดยการหยดน้ำยาไอโอดีน (น้ำยาโพวิโดนไอโอดีนที่ใช้ใส่แผล) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแป้ง ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่สมเหตุสมผลกับราคา

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. K?mmerer K. Pharmaceuticals in the Environment – A Brief Summary. In: K?mmerer K, editor. Pharmaceuticals in the Environment: Sources, Fate, Effects and Risks. 3rd ed. Berlin: Springer-Verlag; 2008. p. 3-21.
  2. ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี. มีนาคม 2559. [ออนไลน์]. [วันที่สืบค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://ipcs.fda.moph.go.th/csnetNEW/file/news/23082016-145421-news.pdf
  3. Buchberger W. Current approaches to trace analysis of pharmaceuticals and personal care products in the environment. J Chromatogr A. 2011; 1218: 603-18.
  4. Prutthiwanasan B, Phechkrajarng C, Suntornsuk L. Fluorescent labelling of ciprofloxacin and norfloxacin and its application for residues analysis in surface water. Talanta 2016; 159: 74-9.

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ไอโอดีนกับสุขภาพ 1 วินาทีที่แล้ว
หญ้าปักกิ่ง 6 วินาทีที่แล้ว
9 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 29 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้