เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เอดส์และการใช้ถุงยางอนามัย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก. ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 68,599 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 11/02/2554
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


เอดส์เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือไวรัสเอดส์ที่ติดต่อหลักทางเพศสัมพันธ์และไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ในระยะแรกจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ใดติดเชื้อเอดส์จากรูปร่างภายนอก คนที่ดูปกติก็อาจมีเชื้อเอดส์อยู่ในร่างกายได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจเลือด จึงจะทราบผลได้แน่นอน รายงานทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์มากกว่า 30 ล้านคน ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอดส์แล้วมากกว่า 3 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วเกือบ 1 แสนคน ในแต่ละวันมีผู้ติดเชื้อเอดส์เพิ่มวันละประมาณ 15-20 คน ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่ทราบผลการตรวจเลือดจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ไม่ทราบผลตรวจเลือด เนื่องจากดังที่กล่าวแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ใดติดเชื้อเอดส์ได้บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หากผิดพลาดเป็นเอดส์แล้ว จะไม่มีวันรักษาให้หายได้ จำเป็นต้องกินยากดเชื้อไวรัสนี้ไปตลอดชีวิต หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ ควรใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการติดเชื้อเอดส์ได้ แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธี ข้อสำคัญ คือ ไม่ควรดื่มสุราหรือของมีนเมาหรือใช้ยาเสพติด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้มีสติสัมปชัญญะลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้โดยเฉพาะเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยปกติจะไม่แตกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ยกเว้น ไม่บีบปลายถุงยางอนามัยเพื่อไล่อากาศออกก่อนสวม, ถุงยางอนามัยหมดอายุ, เก็บถุงยางอนามัยไม่ถูกวิธี เช่น โดนความร้อน (ตากแดด หรือเก็บไว้ในรถ) เกิดรอยพับ (เก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์), การใช้สารหล่อลื่นประเภทน้ำมัน เช่น โลชั่น แวกส์ วาสลีน สารเหล่านนี้ทำให้ยางอ่อนนุ่มฉีกขาดง่าย, การใช้ปากฉีกซองถุงยาง เพราะฟันอาจพลาดไปกัดถูกถุงยางฉีกขาดได้ และการใช้ถุงยางอนามัยขนาดไม่เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตน

คาถาป้องกันเอดส์ “3 ไม่” คือ
1. ไม่ สำส่อน มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม
2. ไม่ หลายใจ มีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาตนเท่านั้น
3. ไม่ ประมาท ที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
 

ถ้าทำไม่ได้ ----> “ไม่รอด”

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


วิตามินและแร่ธาตุ 24 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้