เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาเสื่อมสภาพ .. รู้ได้อย่างไร


ศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://the-toast.net/2014/03/19/garbage-...ge-strike/
อ่านแล้ว 41,202 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 15/07/2559
อ่านล่าสุด 21 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากโรงพยาบาลหรือร้านขายยาก็มักจะเข้าใจว่ายาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตราบเท่าที่ยังไม่หมดอายุ แต่ในความเป็นจริงยาอาจมีคุณลักษณะ (เช่น รูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ) คุณภาพ (เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ สารเจือปน) หรือประสิทธิผลการรักษา ที่แตกต่างไปจากตอนที่ผลิตออกมาใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง) หรือการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง ปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้ยาเสื่อมสภาพก่อนหมดอายุ ซึ่งไม่ควรนำมาบริโภคเพราะจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 
 
ภาพจาก : http://powertotheparent.org/toolkit/how-to-discard-unused-medication/ 
การเสื่อมสภาพของยาเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ

  1. การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
  2. การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน
  3. การเสื่อมสภาพทางจุลชีววิทยาได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อเกินระดับปลอดภัย

การเสื่อมสภาพของยาทั้งสามลักษณะมีความเกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มขึ้นของสารสลายตัวอาจทำให้กลิ่น รสชาติของยาเปลี่ยนไป หรือก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะนำยาที่เสื่อมสภาพมาบริโภค 
การตรวจสอบการเสื่อมสภาพของยามักทำในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามการเสื่อมสภาพทางกายภาพบางประการเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปสามารถทำได้เอง บทความนี้จึงขอเสนอข้อแนะนำเบื้องต้นในการสังเกตการเสื่อมสภาพของยาทางกายภาพเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ยาอย่างปลอดภัย 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://bangkhunthianjoggingclub.com/story_detail.php?story_id=321
  2. http://canryf.blogspot.com/
  3. http://variety.teenee.com/foodforbrain/32607.html
  4. http://www.ohlor.com/วิธีวิ่งให้ไม่เหนื่อย/

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้