เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บทบาทเภสัชกรกับการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น


อาจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: https://addictionresource.com/addiction/...teenagers/
อ่านแล้ว 14,713 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 10/07/2559
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่นกำลังทวีความรุนแรงขึ้น และ ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ในรูปแบบของปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และ ปัญหาเศรษฐกิจในที่สุด

ร้านขายยามีบทบาทสำคัญการแก้ปัญหาใช้ยาในทางที่ผิด ดังนี้
  1. บทบาทในการคัดกรองผู้ใช้ยาในทางที่ผิด
  2. ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจแก่วัยรุ่นไม่ให้ข้องแวะกับยาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  3. เป็นผู้ให้เบาะแสแก่ ผู้ปกครอง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาของวัยรุ่นในชุมชน
วิธีการที่ร้านขายยามีส่วนร่วมในการป้องกันการใช้ยาทางที่ผิดของวัยรุ่น ทำได้ดังนี้
  1. สังเกตพฤติกรรมการซื้อยาของวัยรุ่น และ การสอบถามเพื่อตรวจสอบ-ป้องกัน
    เริ่มต้นจากการไม่ใช้อคติต่อวัยรุ่น ต้องไม่ใช้สีหน้าของการจับผิด การใช้คำพูดต้องอ่อนโยน เพื่อสร้างความอุ่นใจแก่วัยรุ่น
    สิ่งที่ควรสังเกตคือ วัยรุ่นมีอาการหลบสายตา ไม่กล้าสู้หน้า หรือ มีท่าทีของการระแวดระวังในการของซื้อยาหรือไม่ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นอาจมีเจตนาซื้อยาไปใช้ในทางที่ผิด
    เภสัชกร หรือ เจ้าของร้านควรสอบถาม วัยรุ่นว่า จะซื้อยาดังกล่าวไปเพื่ออะไร บางกรณีเขาอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านั้น หรือซื้อให้คนที่บ้านก็ได้ แต่ถ้าวัยรุ่นตอบมาว่า ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอ หรือ หวัด เภสัชกร หรือ เจ้าของร้านควรมีการซักประวัติเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะวัยรุ่นที่ซื้อยาเพื่อไปใช้ในทางที่ผิดจะไม่มีอาการที่ชี้นำให้เห็ฯความจำเป็นในการจ่ายยา
    เมื่อมีสัญญาณของการซื้อยาไปใช้ในทางที่ผิด เภสัชกร และเจ้าของร้าน ควรที่จะปฏิเสธการขายยาให้แก่วัยรุ่น เพราะการขายยาให้แก่เขาจะเป็นการสร้างปัญหาแก่สังคม และบ้านเมือง
    อย่าคิดว่าถึงเราไม่ขายยาแก่วัยรุ่น เขาก็จะไปซื้อได้ที่ร้านยาอื่น เพราะถ้าร้านยาอื่นๆที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมมือกันไม่ขายจะทำให้วัยรุ่นเข้าถึงยาเหล่านี้ไปยากขึ้น ทั้งการไม่ขายยาแก่วัยรุ่นที่มีแนวโม้มจะนำยาไปใช้ในทางที่ผิดจะเป็นการแสดงความรักชาติ และรับผิดชอบกับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ โดยที่เรายอมสละประโยชน์ที่เราได้จากการขาย แต่รักษาประโยชน์ของสังคมคือ คนส่วนใหญ่ สมดังปณิธาณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
  2. สื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงวัยรุ่นให้มีจิตใจเข้มแข็ง และห่างไกลจากการใช้ยาในทางที่ผิด
    ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจ มีท่าทีที่เป็นมิตร และเป็นกันเอง น่าอุ่นใจ ชวนพูดคุยเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ของวัยรุ่น เพื่อให้ทราบว่าพวกเขากำลังประสบความกดดันอะไรบ้าง เราต้องรับฟังอย่างตั้งใจและไม่ใช้อคติ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และ นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การทำสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างการยอมรับ บางครั้งวัยรุ่นต้องการสร้างการยอมรับ จึงใช้ยาในทางที่ผิดร่วมกับเพื่อนเพื่อให้ได้การยอมรับจากการมีอัตลักษณ์ร่วมกัน ดังนั้น เราควรที่จะสร้างโอกาสในชุมชนให้แก่วัยรุ่นกลุ่มนี้ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ดังกล่าว
    ยกตัวอย่างของวัยรุ่นที่เข้มแข็ง และพ้นจากพิษภัยให้รับทราบ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นตัวอย่างในทางเสื่อมเสียจากการใช้ยาในทางที่ผิด
  3. การให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาเยาวชน และสาธารณสุข เช่น
    ศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬาและนันทนากร ห้องสมุด รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชน และศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้ทราบปัญหา และ ร่วมสร้างกิจกรรมเพื่อให้วัยรุ่นทราบถึงพิษภัยของการใช้ยาในทางที่ผิด และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งสร้างการยอมรับจากชุมชน
  4. พูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองของวัยรุ่นเพื่อรับทราบพฤติกรรม และรวมมือกันชักชวนให้ ลด ละ เลิก การใช้ยาในทางที่ผิด
    ทั้งนี้เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคม จึงจำเป็นที่ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความเข้าใจถึงปัญหาเหล่านี้ โดยต้องแนะนำให้พ่อแม่ให้เวลากับบุตรหลานให้มากกว่าที่เป็นอยู่ การพูดคุยกับบุตรหลาน รวมทั้งการสอดส่งพฤติกรรมที่ผิดปกติของวัยรุ่นเพื่อให้เกิดการรับมือเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อการป้องกันปัญหา

นี่คือวิธีการเบื้องต้นในการช่วยแก้ปัญหาการใช้ยาที่ผิดในวัยรุ่น และจะเป็นการป้องกันเยาวชนของชาติจากโทษของการใช้ยาในทางที่ผิด อีกทั้งยังเป็นการทำให้พลเมืองของประเทศในอนาคตมีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจในการพัฒนาชาติต่อไป
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/files/sea001_003.asp
  2. http://drug.fda.moph.go.th:81/เผยแพร่วิชาการ 2559 (
-->


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 นาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้