เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulphate) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis)


รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 254,952 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 02/02/2553
อ่านล่าสุด 1 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์

กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate)เป็นสารประกอบที่พบในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ 1500 มิลลิกรัม

การศึกษาในหลอดทดลองจากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูกข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆด้วย

การศึกษาทางคลินิกสำหรับการศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และการบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทาอาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน15 ฉบับ) ข้อดีของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ในระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี

อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือ มึนงง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ บวม อาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว

ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


7 วินาทีที่แล้ว
แอสไพริน (aspirin) 13 วินาทีที่แล้ว
กระท้อน 19 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้