เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บัวหลวง...สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา


ธิดารัตน์ จันทร์ดอน สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://www.naturalether.com/wp-content/u...50x250.jpg
อ่านแล้ว 37,848 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 07/10/2558
อ่านล่าสุด 5 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


คำนำ 
บัวหลวง (Sacred lotus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. เป็นพืชน้ำมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม แผ่นใบชูเหนือน้ำ ก้านใบแข็ง ออกดอกเดี่ยวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกสีชมพูถึงชมพูเข้มและสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมากติดอยู่รอบฝักบัวรูปกรวย ผลรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ในฝัก (1) มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามลักษณะของดอก ดังนี้ 
 
รูป 1 ที่มา: http://www.bantamboon.com/wp-content/uploads/2014/03/บัวหลวงขาว-บุณฑริก.jpg 
รูป 2 ที่มา: http://www.nanagarden.com/shop/1368/tag/บัวหลวง
รูป 3 ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=muoodda&group=1&month=07-2012&date=29 
รูป 4 ที่มา: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร 
หลายๆ ส่วนของบัวหลวงมีการนำมาบริโภค เช่น เมล็ดบัวรสชาติหวานมัน นำมากวนหรือโรยบนหน้าขนมหม้อแกง รากบัวเชื่อมหรือต้มน้ำตาล ทำน้ำรากบัวแก้ร้อนใน ยำกลีบบัวหรือยำเกสรบัวหลวง เป็นต้น นอกจากนี้บัวหลวงยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ทั้งเกสร กลีบดอก เมล็ด ดีบัว ใบ ราก และเหง้า คนไทยสมัยโบราณใช้เกสรบัวหลวงเข้าเครื่องยาไทยในพิกัดเกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และเกสรทั้งเก้า และนิยมใช้กันจนมาถึงปัจจุบัน 
สรรพคุณแผนโบราณ ดอกบัวและเกสรบัวหลวงใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อ่อนเพลีย ขับโลหิต ขับเสมหะ แก้จุกเสียด และแก้ท้องเสีย เป็นต้น 
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าเกสรบัวหลวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (3) และมีรายงานการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลินเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase; AChE) ซึ่งอาจส่งผลในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (4) ส่วนกลีบดอกบัวหลวงมีฤทธิ์ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (5) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของส่วนอื่นๆ ของบัวหลวง เช่น เหง้ามีฤทธิ์ลดไข้ แก้ร้อนใน แก้อักเสบ (6) และใบมีฤทธิ์ในการลดความอ้วน (7) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับเกสรบัวหลวงซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องยามากที่สุด มีการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ (8) ซึ่งขนาดที่ใช้เข้าเครื่องยาตามตำรับยาไทยต่างๆ ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ แต่อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการใช้ปริมาณในสูงหรือการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงการใช้หากมีอาการแพ้ 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. นันทวัน บุณยะประภัศสร. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน(2). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด, 2541: 640 หน้า
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณาเภสัช. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547: 351 หน้า.
  3. Jung H. A, Kim J. E, Chung H. Y, Choi J. S. Antioxidant Principles of Nelumbo nucifera Stamens. Pharm Res 2003;26(4):279-85.
  4. Jung HA, Jung JY, HYUN SK, MIN BS, KIM DW, Jung JH, Choi JS. Selective cholinesterase inhibitory activities of a new monoterpene diglycoside and other constituents from Nelumbo nucifera stamens. Biol Pharm Bull 2010; 33(2): 267-72.
  5. Bhuvana S, Mahesh R, Begum VH. Effect of Nelumbo nucifera flowers on plasma lipids and glucose in young, middle-aged and aged rats. Pharmacologyonline 2008; 2: 863-74.
  6. Mukherjee PK, Saha K, Das J, Pal M, Saha BP. Studies on the anti-inflammatory activity of rhizomes of Nelumbo nucifera. Planta Med 1997; 63: 367-9.
  7. Ono Y, Hattori E, Fukaya Y, Imai S, Ohizumi Y. Anti-obesity effect of Nelumbo nucifera leaves extract in mice and rats. J Ethnopharmacology 2006; 106: 238–44.
  8. Kunanusorn P, Panthong A, Pittayanurak P, Wanauppathamkul S , Nathasaend N, Reutrakul V. Acute and subchronic oral toxicity studies of Nelumbo nucifera stamens extract in rats. J Ethnopharmacology 2011;134: 789–95.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ท้องผูกจากยา 15 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้