เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


แพ้ยา ป้องกันได้


นศภ. ดวงกมล กฤษณพิพัฒน์ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 15,401 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 15/10/2557
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

แพ้ยา คืออะไร ? 
การแพ้ยาคือปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อยาผ่านระบบภูมคุ้มกัน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างสารออกมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่าง ได้แก่ ผื่น ริมฝีปากบวม เปลือกตาบวม หรือในบางรายอาจมีการแพ้ที่รุนแรง เช่น เป็นผื่นที่มีลักษณะผิวหนังหลุดลอก ความดันโลหิตต่ำและหยุดหายใจ 
แพ้ยาซ้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร 
ครั้งแรกที่ร่างกายได้รับยาจะเกิดการกระตุ้นเซลล์บางชนิดให้กลายเป็น memory cell เพื่อจดจำยาชนิดนั้นไว้ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับยาชนิดนั้นในครั้งต่อมา ปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจึงเกิดได้เร็วกว่าในครั้งแรก ทำให้อาการแพ้เกิดขึ้นหลังจากใช้ยาในทันที เป็นวัน หรืออาจเป็นสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับกลไกในการแพ้แต่ละชนิด โดยการจัดการที่เหมาะสมสำหรับการแพ้ยาคือ ให้หยุดใช้ยานั้นทันที และ ห้ามใช้ยานั้นอีกต่อไป 
ยาในกลุ่มเดียวกันจะมีโอกาสแพ้ด้วยหรือไม่ 
เนื่องจากโครงสร้างของยาที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น (antigen) ทำให้เกิดการสร้างสารต่อต้านจากร่างกายอาจจะเป็นโครงสร้างส่วนใดส่วนหนึ่งของโมเลกุลยา ดังนั้นการแพ้ยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจึงเกิดขึ้นได้ โดยเรียกการแพ้ยาที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันในลักษณะนี้ว่า การแพ้ยาข้ามกัน (cross reactivity) 
กลุ่มยาที่พบการแพ้ยาข้ามกันมากที่สุดได้แก่ ยาปฏิชีวนะในกลุ่มบีต้าแลคแตม (beta-lactams) ซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มยากันชักโดยยาที่มีโครงสร้างคล้ายกันอาจมีการแพ้ยาข้ามกันได้ แต่อย่างไรก็ตามการแพ้ยาข้ามกันบางกรณีไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้แต่เป็นผลจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาเอง เนื่องจากยาในกลุ่มเดียวกันมักจะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใกล้เคียงกัน โดยไม่ได้สัมพันธ์กับสูตรโครงสร้าง หากอาการเหล่านั้นเกิดจากผลข้างเคียงของยา ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดยาหรือห้ามใช้ยานั้น 
แพ้ยาซ้ำ ป้องกันได้อย่างไร 
สำหรับแนวทางปฏิบัติของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้ยา ผู้ป่วยจะได้รับบัตรแพ้ยาจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ผู้ป่วยควรพกบัตรแพ้ยาติดตัวและแสดงบัตรแพ้ยาทุกครั้งเมื่อเข้ารับการตรวจรักษาหรือรับยา รวมทั้งมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. พยายามจดจำชื่อยาที่ท่านเคยแพ้
  2. สอบถามชื่อยา สรรพคุณ วิธีใช้อย่างละเอียดเมื่อต้องใช้ยาใดๆก็ตาม
  3. บอกแพทย์ผู้ทำการรักษา ผู้จ่ายยา หรือนำบัตรแพ้ยานี้ไปแสดงทุกครั้งที่ซื้อยารับประทานเอง
  4. หลีกเลี่ยงยาหรือกลุ่มยาที่เคยแพ้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่ทราบชื่อ ยาชุด หรือยาซอง
  5. หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าแพ้ยาใด ให้หยุดยาทันที และนำตัวอย่างยาดังกล่าว มาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากอาการแพ้ยานั้นอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัย ประเมินอาการแพ้และการรักษาอย่างเหมาะสมสามารถช่วยป้องกันการแพ้ยาซ้ำและไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียประโยชน์จากการพิจารณาใช้ยาในกลุ่มเดียวกัน 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Frew A. General principles of investigating and managing drug allergy. Br J Clin Pharmacol. 2011; 71: 642-6.
  2. Solensky R, Khan DA, editors. Drug allergy: an updated practice parameter. Ann Allergy Asthma Immunol. 2010; 105: e1-e78.
  3. Depta JP, Pichler WJ. Cross-reactivity with drugs at the T cell level. Curr Opin Allergy Clin Immunol. 2003; 3: 261-7.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


แพ้ยา ป้องกันได้ 2 วินาทีที่แล้ว
5 วินาทีที่แล้ว
โรคกระเพาะ...เหตุจากยา 26 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้