เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว


สุรินทร์ อยู่ยง ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ชำนาญงานพิเศษ) ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 99,985 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 21/08/2556
อ่านล่าสุด 8 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

 
คุณรู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้คนเราล้วนมีชีวิตเกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในบ้านก็มีมากมายจนแทบจะไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดไหนดี และสิ่งที่สำคัญคือ เราลืมไปว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสารเคมีอันตราย ที่ต้องใช้ด้วยความเข้าใจและระมัดระวัง เพื่อ ความปลอดภัย 
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
 

  1. สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง
  2. น้ำยาทำความสะอาด
  3. น้ำยาซักล้าง
  4. สารกำจัดกลิ่น


แนวทางป้องกันเพื่อชีวิตที่ปลอดภัยควรทำดังนี้ 
 

  1. ทุกครั้งที่ใช้ต้องแน่ใจว่าอ่านฉลากอย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  2. ใช้ในปริมาณที่จำเป็น และไม่คิดเอาเองว่าการเพิ่มปริมาณการใช้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี และที่สำคัญ คือห้ามใช้รวมกันหลาย ๆ ประเภท ยกเว้นว่าระบุให้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ได้
  3. ใช้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้อง ควรเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมระบายอากาศ
  4. ล้างภาชนะที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้งและเก็บในที่มิดชิด ปลอดภัยและพ้นจากมือเด็ก
  5. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนถ่ายบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้บรรจุอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการใช้งาน หรือนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง
  6. หญิงมีครรภ์ควรงดใช้เพื่อป้องกันอันตรายต่อเด็กและทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังการใช้ผลิตภัณฑ์
  7. ลดการใช้หรือหาทางเลือกอื่น ๆ ทดแทน
  8. เมื่อเกิดอุบัติเหตุเช่นมีกรดหรือด่างหกรดร่างกาย ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อเจือจางความเข้มข้น ถ้ารับประทานเข้าไปควรนำส่งโรงพยาบาลพร้อมกับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที


แม้ทุกวันนี้เราต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีมากขึ้น จงใช้อย่างรู้และรอบคอบ ทำตามฉลากระบุจนเป็นนิสัย เพื่อลดและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมี มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้ดังแสดงในตาราง 
ตารางแสดงทางเลือกที่ใช้ทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ประเภทตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาการไม่พึงประสงค์ทางเลือก
สารป้องกันและกำจัดแมลงยาฉีดกันยุง สเปรย์ฆ่าแมลง ยากำจัดมด ปลวก เหยื่อกำจัดแมลงสาบเวียน หรือปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอกหายใจลำบาก ชัก หรือหัวใจหยุดเต้น
  1. ทำความสะอาดบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
  2. อุดรูที่มดเดินด้วยพริกไทยป่นหรือ ใบสะระแหน่แห้ง หรือโรยด้วยผงฟู
  3. ใช้ตะแกรงกรองเศษอาหารก่อนลงท่อน้ำทิ้ง เพื่อไม่ให้ท่อตันอันเป็นแหล่งอาหารของมดและแมลงสาบ
  4. ถ้าท่อน้ำตัน ใช้ผงฟู 1 กำมือและน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยเทใส่ท่อระบายน้ำ ปิดปากท่อให้สนิท 1 นาที แล้วเทน้ำร้อนลงไป
น้ำยาทำความสะอาดน้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดเตา โลหะ เครื่องเงิน น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดพรม เบาะระคายเคืองผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ
  1. ผสมเกลือกับผงฟูอย่างละเท่า ๆ กัน ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดแทนผงขัดเงา
  2. ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เช็ดรอยเปลื้อนแทนน้ำยาเช็ดกระจก
น้ำยาซักล้างผงซักฟอก น้ำยาซักแห้งและน้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาปรับผ้านุ่มระคายเคืองตา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวกผสมผงฟู 1 ส่วน น้ำส้มสายชู 1 ส่วน และน้ำ 2 ส่วน แทนน้ำยาปรับผ้านุ่ม
สารกำจัดกลิ่นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้าหายใจไม่สะดวก มีอาการสั่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง เสียความทรงจำ
  1. กำจัดแหล่งกำเนิดกลิ่น
  2. เปิดหน้าต่างระบายอากาศ
  3. ปลูกต้นไม้ไว้ตามมุมต่าง ๆ เพื่อฟอกอากาศ


เมื่อรู้ถึงภัยที่แฝงเร้นอยู่ข้างกายอยู่ทุกวันแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าจะมีวิธีการอยู่ร่วมหรือรับมือกับมันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นภายหลัง

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1.  

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 9 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้