เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 2: มาตรฐานทางกายภาพของยาเม็ดสมุนไพร


รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 70,573 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 04/08/2556
อ่านล่าสุด 3 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/yb77j497
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/yb77j497
 

ในปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรในรูปแบบยาเม็ดได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีความคงสภาพที่ดีทั้งทางกายภาพและเคมี และสะดวกในการรับประทาน มากกว่ายาสมุนไพรในรูปแบบอื่น อีกทั้งได้รับส่วนแบ่งตลาดมากกว่ายาสมุนไพรรูปแบบอื่นๆ เช่นกัน
สูตรตำรับของผงยาหรือแกรนูลยาสมุนไพรที่สามารถตอกอัดเป็นเม็ดได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาตำรับมีคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถในการไหลที่ดี เพื่อให้แต่ยาเม็ดแต่ละเม็ดมีขนาดรับประทานที่สม่ำเสมอ และความสามารถตอกอัดเป็นยาเม็ดได้ดี รวมทั้งพัฒนาให้มีคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ เพื่อให้ได้ยาเม็ดที่มีคุณสมบัติที่ดี ได้แก่ ยาเม็ดมีลักษณะภายนอกที่สวยงามจากการตรวจดูด้วยตาเปล่า มีความสม่ำเสมอความหนายาเม็ด มีความแข็งมากพอสมควรเพื่อไม่ให้แตกหัก มีความกร่อนที่ค่อนข้างต่ำเพื่อมีให้ยาเม็ดร่วนเป็นผงในระหว่างเดินทางหรือขนส่ง มีความชื้นที่ค่อนข้างต่ำเพื่อไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ รวมทั้งการพัฒนาตำรับให้มีความคงสภาพที่ดีทางเคมีและกายภาพ
การตรวจดูด้วยตาเปล่า (Visual Inspection)
International Pharmacopoeia1 (IP) ได้กำหนดการตรวจสอบด้วยตาเปล่าสำหรับยาเม็ดว่า เปิดภาชนะ สุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบอย่างน้อย 20 เม็ด จะต้องไม่มีเม็ดใดชำรุดเสียหาย ทุกเม็ดจะต้องมีผิวเรียบและมีสีที่สม่ำเสมอ
มีหลักฐานความคงสภาพทางกายภาพว่า ไม่มีเศษผง เศษยาเม็ดที่ก้นภาชนะ ยาเม็ดจะต้องไม่แตกร้าว แยกฝา หรือบิ่นที่ผิวยาเม็ดหรือผิวเคลือบ บวม ด่างสี สีจาง หรือมีการเชื่อมติดระหว่างเม็ด ไม่มีผลึกที่ผนังภาชนะ หรือบนผิวยาเม็ด สามารถแตกตัวในทางเดินอาหารได้เร็ว เมื่อรับประทานยาเข้าไป
ความแปรปรวนของน้ำหนักยาเม็ด (Weight Variation)

ในหัวข้อ Dietary Supplements ของ USP2 ได้กำหนดมาตรฐานของความแปรน้ำหนักยาเม็ดไว้ว่า ให้สุ่มตัวอย่างยาในแต่ละครั้งผลิต (batch) มา 20 เม็ด ชั่งน้ำหนักทีละ 1 เม็ด และคำนวณหาน้ำหนักเฉลี่ย กำหนดเกณฑ์ไว้ว่า จะต้องมีน้ำหนักเม็ดยาไม่เกิน 2 เม็ด ที่มีความเบี่ยงเบนมากกว่าจำนวนร้อยละที่กำหนดไว้ และต้องไม่มีเม็ดใดเลยที่มีความเบี่ยงเบนมากกว่า 2 เท่าของจำนวนร้อยละที่กำหนดในตารางที่ 1 จากน้ำหนักเฉลี่ย
จากตารางแสดงให้เห็นว่า เภสัชตำรับยอมให้ยาเม็ดที่น้ำหนักน้อยมีค่าเบี่ยงเบนน้ำหนักมากว่ายาเม็ดที่น้ำหนักมาก และยอมให้เพียง 2 เม็ดที่ค่าเบี่ยงเบนเกิน 10, 7.5 และ 10% ตามลำดับ แต่ไม่ยอมให้เม็ดใดเลยที่น้ำหนักเกิน 20, 15 และ 10% ตามลำดับ
ความหนายาเม็ด (Tablet Thickness)
ความหนาของยาเม็ดขึ้นกับน้ำหนักของยาเม็ด แรงตอก และความหนาแน่นของผงยาก่อนตอกยาเม็ด การควบคุมให้ยาเม็ดมีน้ำหนักสม่ำเสมอขึ้นกับการไหลที่ดีของผงยาก่อนตอกยาเม็ด จะทำให้ยาเม็ดมีความหนาสม่ำเสมอ แต่ละครั้งผลิตอาจสุ่มตัวอย่างมา 10 เม็ด วัดความหนายาเม็ดด้วยเครื่องวัดความหนายาเม็ด (thickness gauge) ดังแสดงในรูปที่ 2 หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที่ได้เป็น มม. (mm)

ความแข็งยาเม็ด (Tablet Hardness)
ไม่มีข้อกำหนดความแข็งยาเม็ดในเภสัชตำรับ โรงงานจะใช้ข้อกำหนดนี้ควบคุมมาตรฐานของยาเม็ดอันหนึ่งเพื่อให้ยาเม็ดไม่หักบิ่นระหว่างกระบวนการผลิตและการขนส่ง โดยทั่วไปกำหนดให้ยาเม็ดมีความแข็งประมาณ 4-6 กิโลกรัม หรือมากกว่าตามความเหมาะสม เช่น ช่วงความแข็ง 6-8 กก. สำหรับยาเม็ดหญ้าปักกิ่ง แต่ละครั้งผลิตอาจสุ่มตัวอย่างมา 10 เม็ด วัดความแข็งด้วยเครื่องวัดความแข็งยาเม็ด ได้แก่ Stokes-Monsanto hardness tester ดังแสดงในรูปที่ 3

ความกร่อนยาเม็ด (Tablet Friability)
ในระหว่างขนส่งยาเม็ดอาจมีโอกาสกระแทกกันเองหรือกระแทกกับผนังภาชนะบรรจุ ทำให้ยาเม็ดกร่อน แตกเสียหาย ตำรับยาเม็ดจะต้องให้ยาเม็ดที่มีความกร่อนต่ำเพื่อต้านทานความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ควรยึดตามเกณฑ์ USP2 ที่กำหนดให้ยาเม็ดไม่เคลือบให้มีความกร่อนได้ไม่เกิน 1 % โดยไม่มีเม็ดใดแตกเสียหาย วิธีการคือหากน้ำหนักยาเม็ดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 650 มก. ชั่งมาให้ได้น้ำหนักรวมของเม็ดยาเท่ากับ 6.5 กรัม หากน้ำหนักเม็ดยามากกว่า 650 มก. ให้นำมาทดสอบจำนวน 10 เม็ด ปัดฝุ่นที่ติดเม็ดยาออกให้หมด นำไปใส่เครื่องวัดความกร่อน (Friabilator, Roche Model) โดยเปิดเครื่องหมุนทั้งสิ้น 100 รอบ เป็นเวลา 4 นาที นำเม็ดยาออกจากเครื่อง ปัดฝุ่นออกให้หมด แล้วนำไปชั่งอีกครั้ง ร้อยละความกร่อนคำนวณได้จาก


เวลาในการแตกตัวของยาเม็ด (Disintegration Time)
เมื่อรับประทานยาเข้าไปยาเม็ดจะเกิดการแตกตัว ซึ่งการแตกตัวของยาเม็ดจะเร็วหรือช้าขึ้นกับคุณสมบัติและปริมาณตัวยาต่างๆ เช่น สารช่วยแตกตัว สารช่วยยึดเกาะที่ใช้ในตำรับ เมื่อยาเม็ดแตกตัวแล้วตัวยาสำคัญจะละลายและถูกดูดซึมได้ จะเห็นได้ว่าทั้งการแตกตัวนั้นมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการรักษาระดับหนึ่งของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด ในเภสัชตำรับได้กำหนดมาตรฐานการแตกตัว ซึ่งสรุปสั้นๆ ได้ดังต่อไปนี้
USP2 ได้กำหนดเครื่องทดสอบการแตกตัวดังรูปที่ 5 ซึ่งดูรายละเอียดได้จากบทความเรื่อง “การละลายและการแตกตัวของยาเม็ด เหมือนหรือต่างกัน” ที่อาจารย์ ดร. ภญ วารี ลิมป์วิกานต์3 ได้เขียนไว้ จับเวลา และดูว่าเมื่อครบเวลา ยาเม็ดทั้ง 6 เม็ดแตกตัวหมดหรือไม่ ถ้าไม่มีเหลือบนตะแกรงเลยถือว่ายานั้นผ่านการทดสอบ โดยทั่วไปยาเม็ดไม่เคลือบใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ยาเม็ดเคลือบฟิล์มใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ยาเม็ดฟองฟู่ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ส่วนยาเม็ดออกฤทธิ์นานที่อมใต้ลิ้น อมภายในอุ้งปาก ไม่ต้องทดสอบการแตกตัวของยาเม็ด เพราะต้องการให้ยาออกฤทธิ์นาน ยาเม็ดเคี้ยวก็ไม่ต้องทดสอบการแตกตัวเช่นเดียวกัน

ความชื้นที่หายไปเมื่ออบแห้ง (Loss on Drying, LOD)
เป็นข้อกำหนดในการควบคุมปริมาณความชื้น โดยหาน้ำหนักที่สูญหายไป หลังจากการอบแห้งในตู้อบ ในสภาวะอุณหภูมิ และเวลาที่กำหนด ให้สำหรับยาสำเร็จรูป เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง เป็นต้น

จากประสบการณ์ ควรควบคุมความชื้นของยาเม็ดสมุนไพรไม่ให้เกิน 3.5% เพื่อทำให้ตอกยาเม็ดไม่ติดขัด มีความแข็งพอเหมาะ และไม่ส่งเสริมการเติบโตของจุลินทรีย์

การทดสอบความคงสภาพของยาเม็ดสมุนไพร
การทดสอบแบบเร่ง
ก. อุณหภูมิ 40 + 2oC และความชื้นสัมพัทธ์ 75 + 5% RH เป็นเวลานาน 6 เดือน
ข. อุณหภูมิ 45 + 2oC และความชื้นสัมพัทธ์ 75 + 5% RH เป็นเวลานาน 4 เดือน
การทดสอบระยะยาว
ก. อุณหภูมิ 25 + 2oC และความชื้นสัมพัทธ์ 60 + 5 % RH
ข. อุณหภูมิ 30 + 2oC และความชื้นสัมพัทธ์ 75 + 5 % RH (ประเทศไทย)
อาจทำการทดสอบคุณสมบัติยาเม็ดดังต่อไปนี้ ได้แก่ ลักษณะภายนอก การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมี ปริมาณสารสำคัญหรือสารเทียบ การแปรปรวนของน้ำหนักยาเม็ด เวลาในการแตกตัว เป็นต้นว่ายังมีความคงสภาพที่ดีคุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีที่ดีเป็นที่ยอมรับได้

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. The International Pharmacopoeia. 3rd. Volume 5. Tests and general requirements for dosage forms: Quality specifications for pharmaceutical substances and tablets. Geneva: World Health Organization; 2003.
  2. The United States Pharmacopeia 35 / The National Formulary 30. Rockville, MD: The United States Pharmacopeial Convention; 2012.
  3. วารี ลิมป์วิกรานต์. การละลายและการแตกตัวของยาเม็ด เหมือนหรือต่างกัน. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์           http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=138
  4. แนวทางการทดสอบความคงสภาพของยาและผลิตภัณฑ์ยา. นนทบุรี: สำนักยา, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


สิว...สาเหตุจากยา 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้