เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 2): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีแดง


ภญ.ดร.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 114,085 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 07/07/2556
อ่านล่าสุด 27 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ผักผลไม้ที่มีสีแดง 
พระเอกของผักผลไม้ที่มีสีแดง ที่ขึ้นชื่อว่ากินแล้วผิวจะสวย ตาจะสดใส ก็คือ มะเขือเทศ นั่นเอง นอกจากมะเขือเทศแล้วยังมี แตงโมเนื้อแดง กระเจี๊ยบแดง ฝรั่งเนื้อแดง มะละกอ หัวบีทรูท สตรอเบอรี่ เชอรี่ เมล็ดทับทิม พริกแดง หอมแดง และกระหล่ำปลีสีแดง ฯลฯ ผักผลไม้ที่มีสีแดงสวย รสชาดอร่อย เหล่านี้เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นพร้อมกับประโยชน์หลากหลายต่อสุขภาพ 
ผักผลไม้ที่มีสีแดงส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยสารสำคัญที่ชื่อว่า ไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นเม็ดสีแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่พืชผักต่างๆ และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่สามารถเปลี่ยนสีเป็นน้ำเงินหรือม่วงในเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมของอุณหภูมิ หรือความเป็นกรดด่าง ที่แตกต่างกัน สารแอนโทไซยานินนี้จะเด่นมากในกลุ่มพืชผักสีม่วงและน้ำเงินซึ่งเราจะพูดถึงกันในตอนต่อไป แต่ตอนนี้เรามาดูประโยชน์ของไลโคพีนในพืชผักสีแดงกันก่อนค่ะ 
ประโยชน์ของไลโคพีนในผักผลไม้สีแดง 
 

  • ไลโคพีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังและช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก
  • ไลโคพีนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และป้องกันการเกิดมะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูก
  • ไลโคพีนช่วยลดปริมาณไขมันไม่ดีชนิด LDL-cholesterol ช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ลดความดันโลหิตและลดการแข็งตัวของหลอดเลือด


เมื่อรู้ประโยชน์ของไลโคพีนอย่างนี้แล้ว เราลองมามองหาเมนูอาหารดีๆ ที่มีสารไลโคพีนเพื่อบำรุงสุขภาพกันบ้างนะคะ มาดูตัวอย่างเมนูอาหารที่มีปริมาณไลโคพีนสูงกันค่ะ 
ซุปมะเขือเทศ (Tomato soup) สูตรของ Michael Chiarello 
 
ส่วนประกอบที่ต้องเตรียม (สำหรับ 4 ที่)

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Gupta SK, Trivedi D, Srivastava S, et al. Lycopene attenuates oxidative stress induced experimental cataract development: an in vitro and in vivo study. Nutrition. 2003; 19(9):794-799.
  2. Mein JR, Lian F, Wang XD. Biological activity of lycopene metabolites: implications for cancer prevention. Nutrition Reviews. 2008; Vol. 66(12): 667–683.
  3. Ried K, Fakler P. Protective effect of lycopene on serum cholesterol and blood pressure: Meta-analyses of intervention trials. Maturitas. 2011;68(4):299-310.
  4. Stahl W and Sies H. Uptake of lycopene and its geometrical isomers is greater from heat-processed than from unprocessed tomato juice in humans. The Journal of nutrition 1992: 2161-2166.
  5. สูตรซุปมะเขือเทศ โดย Michael Chiarello, Copyright 2012 Television Food Network G.P.
  6. ภาพจาก http://www.chelsey.co.nz/best-recipe/dinner-recipes/homemade-tomato-soup


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ต้อหิน 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้