เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


น้ำมะระ เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร


สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 31,911 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 07/02/2554
อ่านล่าสุด 6 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/y7ljfmhr
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y7ljfmhr
 

มีรายงานจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียว่าพบผู้ป่วยชายอายุ40 ปี รับประทานน้ำมะระเข้มข้นที่ทำเองที่บ้านประมาณ 500 ซีซี ก่อนที่จะมีการเจาะเลือดไปตรวจ ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ และอาเจียนเป็นเลือดประมาณ 200 - 300 ซีซี ภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากที่รับประทานน้ำมะระเข้มข้นเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยไม่ได้เพิ่มเติมสารใดๆ ลงไปในขณะที่เตรียมน้ำมะระเข้มข้น ไม่มีประวัติการใช้แอลกอฮอล์ ยาระงับปวด ยาต้านการอักเสบ และยาอื่นๆ ไม่มีประวัติว่าปวดบริเวณแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ หรือไม่สบายมาก่อน และจากการตรวจร่างกายพบว่า ผู้ป่วยมีอาการซีด ชีพจรเต้น 120 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 80/60 มม. ปรอท ฮีโมโกลบิน 8.0 กรัม% ฮีมาโตคริต 23% (เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดปกติ) ค่าชีวเคมีในเลือดของตับและไตปกติ การทำอุลตร้าซาวน์ในช่องท้องไม่พบว่ามีภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ หรือตับอ่อนอักเสบ จากการส่องกล้องดูระบบทางเดินอาหารส่วนต้น พบว่าหลอดอาหารปกติ ส่วนเยื่อบุกระเพาะอาหารมีเลือดออกคั่ง และมีแผลบริเวณตัวกระเพาะอาหารส่วนปลาย (distal body) และบริเวณแอนทรัม (antrum คือส่วนปลายของกระเพาะอาหารที่ต่อกับลำไส้เล็กส่วนต้น) ไม่พบว่ามีภาวะหลอดเลือดขดที่หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารโป่งพอง(esophageal varice, gastric varice) การตรวจหาเอนไซม์ urease ที่ถูกผลิตขึ้นโดย Helicobacterpyloriจากชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจให้ผลลบ จากข้อมูลทั้งหมดทีมแพทย์พิจารณาแล้วสรุปว่าการเตรียมสารสกัดจากมะระร่วมกับผักชนิดอื่นๆ อาจจะช่วยเจือจางและลดความเป็นพิษของมะระลงได้ แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้รับประทานมะระปั่นที่เข้มข้นอาจทำให้เกิดความเป็นพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อนจึงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ซึ่งคิดว่าน่าจะมาจากสารอัลคาลอยด์ที่คล้ายกับ momordicine หรือสารที่คล้ายกับ lectin หรือ charantin ซึ่งพบในมะระและน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฤทธิ์กัดกร่อนนี้

จาก Indian J Gastroenterol 2010:29(1):37-9.

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้