อ่านแล้ว 4,458 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย รศ. ดร. จุฑามณี สุทธิสีสังข์ (คณบดี) พร้อมทีมบริหารได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พิสมัย กุลกาญจนาธร (รองคณบดีฝ่ายบริหาร) รองศาสตราจารย์ ดร. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล (รองคณบดีฝ่ายวิชาการ) รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ ประธานธุรารักษ์ (รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ) รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย) และผู้ช่วยศาตราจารย์ สุรกิจ นาฑีสุวรรณ (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์) ได้ทำการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมนำโดย นพ. วิทิต อรรถเวชกุล (ผู้อำนวยการ) ภญ. อัจฉรา เอกแสงศรี (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา) และ ภญ. ดร. ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ (สถาบันวิจัยและพัฒนา) ในโครงการสำคัญ 3 โครงการได้แก่
1. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความรู้ที่ยั่งยืน
2. โครงการพัฒนาการศึกษาเภสัชศาสตร์และส่งเสริมบทบาทเภสัชกรในชุมชน
3. โครงการความรู้เรื่องยาสู่ประชาชน
โดยมีรายละเอียดของแต่ละโครงการดังต่อไปนี้
1. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความรู้ที่ยั่งยืน
ทั้งสององค์กร มีความเห็นพ้องต้องกันในความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพและสนับสนุนการเข้าถึงยาของประชาชนชาวไทยเพื่อใช้ในการบำบัด รักษา ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพของประชากรในประเทศให้มีสถานะทางสุขภาพที่ดี โดยได้มีโอกาสที่จะใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ที่ปลอดภัย มีคุณภาพและได้มาตรฐานในระดับสากล อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดในระดับสากล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การเภสัชกรรม จึงตกลงร่วมมือกันในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1. ร่วมกันวางแผนและดำเนินโครงการวิจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการบำบัด รักษา ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา ที่จำเป็น เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนผลิตภัณฑ์หรือปัญหาการเข้าไม่ถึงยาในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ
1.2. ร่วมกันดำเนินงานวิจัยดังกล่าวในข้อที่ 1 ผ่านการสนับสนุนกระบวนการวิจัยในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทหรือปริญญาเอก ในรูปของการสนับสนุนทุนวิจัย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการวิจัย
1.3. สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรผ่านการประชุมวิชาการ การอบรมระยะสั้น และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของทั้งสองฝ่าย
2. โครงการพัฒนาการศึกษาเภสัชศาสตร์และส่งเสริมบทบาทเภสัชกรในชุมชน
ทั้งสององค์กรเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและระบบสาธารณสุขของไทย เพื่อส่งเสริมให้ระบบยาของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ในระดับสากล นอกจากนี้ยังควรต้องมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ได้มีโอกาสสัมผัสกับปัญหาสุขภาพในชุมชน และได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านยาและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาเป็นเภสัชกรที่มีความรู้คู่คุณธรรม และมีจิตสำนึกในการรับใช้ประชนชนเป็นที่ตั้งในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การเภสัชกรรม จึงตกลงร่วมมือกันในกิจกรรมดังต่อไปนี้
2.1. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การเภสัชกรรมในการเป็นแหล่งฝึกงานทางเภสัชศาสตร์ชั้นเลิศของประเทศไทยและในระดับนานาชาติ
2.2. ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกงานทางเภสัชศาสตร์ของนักศึกษาทั้งในระดับทั่วไปและระดับเฉพาะทาง
2.3. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่ด้อยโอกาส
2.4. สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่มีความประพฤติและทัศนคติที่ดี ตลอดจนมีความมุ่งมั่นต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
3. โครงการความรู้เรื่องยาสู่ประชาชน
ทั้งสององค์การมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกันจัดทำโครงการความรู้เรื่องยาสู่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้การบริโภคยาเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัยคุ้มค่าและช่วยลดปัญหาจากการใช้ยาที่พบบ่อยในประเทศไทย และเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เที่ยงตรง และทันต่อเหตุการณ์ของปัญหาสุขภาพ การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีสุขภาพที่ดีและเป็นหนึ่งในมาตรการของการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยของประชาชนไทยต่อไป เพื่อใ
Photo Gallery