เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


งานการศึกษาฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการดูแลนักศึกษาแบบ Transformative Learning ประจำปี 2565

อ่านแล้ว 745 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2565  
เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล โดยงานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการดูแลนักศึกษาแบบ Transformative Learning ประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมดังกล่าว ณ ห้องบรรยาย 302 อาคารเทพรัตน์ โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุม ประมาณ 40 คน สำหรับกิจกรรม ประกอบด้วย การบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ หัวข้อ ความคืบหน้าของหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ และการแบ่งกลุ่มตามภาควิชา เพื่อพิจารณาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) - ตารางสอนปี 2 และปี 3 และ มคอ.3 / 4 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ภาควิชาเภสัชกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้น 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 26 กรกฎาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมทักษะของบุคลากรสายวิชาการของคณะฯ ในการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อนำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยสามารถนำเทคนิคการจัดการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งเพิ่มพูนทักษะการสะท้อนคิดเชิงรุก (Active reflection) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ของบุคลากรสายวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเป้าหมายสำคัญของการประชุมเชิงปฏิบัติการ คือ 1) บุคลากรสายวิชาการสามารถดำเนินการประสาน PLOs, CLOs รวมทั้งเทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลได้ 2) บุคลากรสายวิชาการสามารถใช้วิธีการสอนแบบ Modular education และใช้โปรแกรม REXX (E-logbook) ในการติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ 3) บุคลากรสายวิชาการสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้ Rubric score ได้ 4) บุคลากรสายวิชาการสามารถให้การสะท้อนคิดเชิงรุก (Active reflection) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่นักศึกษาได้ และ 5) บุคลากรสายวิชาการสามารถวางแผนการเรียนการสอนของหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ได้ นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 วินาทีที่แล้ว
29 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้