เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


งานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดกิจกรรม “การศึกษาสัญจร” ประจำปี 2565

อ่านแล้ว 616 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2565  
ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 งานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คุณสุพิน สรรค์วิทยากุล หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต ได้จัดงาน “การศึกษาสัญจร” ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและกระบวนการจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ รวมทั้งขอคำปรึกษา ตอบข้อคำถาม และอภิปรายร่วมกับหัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์ของภาควิชาทั้ง 10 ภาควิชา และ 3 สาขาวิชา ดังนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ หัวหน้าภาควิชาอาหารเคมี 4. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วีณา สาธิตปัตติพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวินิจฉัย 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วรวรรณ กิจผาติ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ 7. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ หัวหน้าภาควิชาเภสัชกรรม 8. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กิตติศักดิ์ ศรีภา หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี 9. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา 11. รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก 12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ในกิจกรรมดังกล่าวยังได้มีการทบทวน มคอ. 3-4 ในส่วนของร้อยละของคะแนนของผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (program learning outcomes: PLOs) และผลการเรียนรู้ระดับวิชา (course learning outcomes: CLOs) ในแต่ละวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับรหัสรายวิชาว่าเป็นรายวิชาในกลุ่มวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร (PYA) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ (PYB) กลุ่มวิชาด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม (PYC) และ กลุ่มวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ (PYD) ส่งผลให้สัดส่วนของคะแนนรวมระดับหลักสูตรตามผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตรอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม และสามารถเปลี่ยนแปลงและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงนักศึกษาให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาได้ชัดเจน ตามหลักการของ AUN-QA version 4.0 การวิเคราะห์สาเหตุของนักศึกษาที่ได้เกรด F ในหลายปีที่ผ่านมา พบสาเหตุสำคัญหลายประการ รวมถึงวิธีการตัดเกรดชนิดต่างๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อโครงการ MU-PSF (Mahidol University Professional Framework) การใช้โปรแกรม E-logbook (REXX) ในการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถติดตามผลการศึกษาของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องในแนวตั้ง (vertical integration) และแนวราบ (horizontal integration) ในกลุ่มวิชาที่มีผลการเรียนรู้เดียวกัน (modular education) ความต้องการในการอบรมทางการศึกษาของคณาจารย์ และความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลง มคอ. 1 สาขาเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้นี้ ทีมงานการศึกษาฯ ยังได้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ กับคณาจารย์ และได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์ และความร่วมมือในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของงานการศึกษา เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาของนักศึกษา นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) 36 วินาทีที่แล้ว
ท้องผูกจากยา 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้