เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลร่วมมือกับ United States Pharmacopeia (USP) เพื่อพัฒนาคุณภาพยาในประเทศที่กำลังพัฒนา

อ่านแล้ว 2,037 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563  
ระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร และ ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ลีณา สุนทรสุข เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการเข้าร่วมการเปิดโครงการและ Technical Workshop “Promoting the Quality of Medicines Plus (PQM+)” ซึ่งเป็นโครงการระยะ 5 ปีมูลค่ากว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งผู้นำโครงการ คือ United States Pharmacopeia (USP) และได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานโครงการจากองค์กร The U.S. Agency for International Development หรือ USAID โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ เมือง Rockville มลรัฐ Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา PQM+ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพยาให้แก่ประเทศที่มีรายได้น้อย – ปานกลาง (Low- and Middle-income Countries หรือ LMIC) ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดปัญหาคุณภาพยาที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งมีผลเสียต่อชีวิตของผู้ป่วยและทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่รุนแรง โดยคณะเภสัชศาสตร์ และ WHO Collaborating Centre (WHO-CC) for Antimicrobial Resistance (AMR) ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้เข้าร่วมทำงานในโครงการนี้ร่วมกับสถาบันต่างๆ จากหลายทวีปทั่วโลก บทบาทของคณะเภสัชศาสตร์ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเกี่ยวกับ Good Manufacturing Practice (GMP), Regulatory Science of Medicinal Products, Quality Control and Quality Assurance, Antimicrobial Resistance Surveillance and Management โดยทางคณะฯ จะเป็นผู้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย ซึ่งการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะส่วนช่วยผลักดันให้คณะฯ เป็นผู้นำด้านยาและมีบทบาทในการส่งเสริม Global Health ในทวีปเอเชียอย่างแท้จริง




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้