เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


น้ำเมือกหอยทาก กับคุณสมบัติในทางยาและเครื่องสำอาง


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://m.blog.hu/sh/ sheabouteverything/...spersa.jpg
อ่านแล้ว 98,335 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 16/09/2558
อ่านล่าสุด 4 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


คำนำ
น้ำเมือกที่ปกคลุมตัวหอยทาก (Snail Helix Aspersa) มีคุณสมบัติมากมายซ้อนอยู่ มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนัง
นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสนใจการการเคลื่อนที่ของหอยทากในธรรมชาติ การเคลือบคลานของตัวหอยทากบนพื้นดินหรือพื้นหินที่ขรุขระและหยาบโดยไม่ทำให้หอยทากบาดเจ็บแม้แต่น้อย และยังสามารถต้านฝุ่นละอองและเชื้อจุลินทรีย์ในสภาวะต่างๆได้ด้วย
ในปี ค.ศ.1959 นักวิทยาศาสตร์ ทำการวิจัยผนังของตัวหอยทาก และพบองค์ประกอบของ คอลลาเจน และมิวโคโพลีแซคคาไลด์ ซึ่งอุดมไปด้วยอมิโนแอซิด เช่น ไกลซิน โปรลีน และ กลูตามิคแอซิด ต่อมาในปี 2006 องค์ประกอบดังกล่าวถูกค้นพบว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของการรักษาแผลอักเสบของผิวหนัง นอกจากนั้นยังพบว่า มีการพัฒนาเป็นยาน้ำเชื่อมผสมน้ำเมือกหอยทากเพื่อเคลือบและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร และเมื่องานวิจัยได้แพร่ออกไป มีผู้คนสนใจการบริโภคหอยทากเป็นๆมีชีวิต เพื่อให้ตัวหอยหลั่งน้ำเมือกสดในกระเพาะอาหารเพื่อต้องการประโยชน์ของการรักษาอีกด้วย
น้ำเมือกหอยทาก
ปี ค.ศ.2003 นักวิทยาศาสตร์ (JM Pawlicki et) วิจัยองค์ประกอบน้ำเมือกหอยทาก พบว่ามีทั้งส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกาวเหนียวเพื่อให้ขาและตัวหอยได้ยึดเกาะแน่นเมื่อคลานหรือไต่ไปตามที่สูงชัน และองค์ประกอบอีกส่วนที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นกาว น้ำเมือกที่หลั่งจากส่วนหาง จะประกอบด้วย น้ำ 95% มีคุณสมบัติเป็นสารหล่อลื่นและปกป้องโดยเคลือบตัวหอยทากเพื่อไม่ให้บาดเจ็บในทุกพื้นผิว องค์ประกอบส่วนที่เป็นกาวเหนียว เมื่อนำมาวิจัย พบว่าประกอบไปด้วยโปรตีนชนิด "glue proteins" ที่เข้มข้น ซึ่งโปรตีนชนิดนี้นับว่าสำคัญในการใช้ประโยชน์ทางการรักษาในปัจจุบัน
องค์ประกอบทางเคมี
การนำน้ำเมือกหอยทากมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ จึงไม่ใช่ของใหม่ ปี ค.ศ. 1980 ชาวนา ชิลี ซึ่งมีอาชีพเลี้ยงหอยทากส่งภัตตาคารที่ฝรั่งเศส พบโดยบังเอิญว่า มือของเค้านุ่มและลื่นขึ้นอย่างมากจากการที่ต้องจับและสัมผัสตัวหอยทากทุกวัน และสังเกตุว่าถ้ามีบาดแผลที่มือ จะหายอย่างรวดเร็วโดยไม่อักเสบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครื่องสำอางทำการศึกษาวิจัยน้ำเมือกหอยทากอย่างจริงจัง

 

  • อลันโทอิน (Alantoin) เป็นสารที่ช่วยสนับสนุนและเร่งการแบ่งเซล ช่วยในเรื่องสมานแผลได้ดี
  • คอลลาเจน (Collagen)
  • อีลาสติน (Elastin)
  • สารปฏิชีวนะธรรมชาติ (natural antibiotics) ซึ่งจะช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด
  • ไกลโคลิคแอซิด (Glycolic acid) เป็นสารสำคัญที่สารมารถแทรกซึมเข้าชั้นผิวหนังได้ดี ช่วยเร่งการสังเคราะห์คอลลาเจนในชั้นผิวหนัง
  1. รักษาแผลไฟไหม ในปี ค.ศ. 2009 มีบทความวิจัยตีพิมพ์ การทดสอบในคนไข้แผลไฟไหม้ (skin burns) พบว่าคนไข้ที่ทาครีมผสมน้ำเมือกหอยทาก วันละ 2 ครั้งทุกวัน ทำให้แผลหายภายใน 14 วัน
  2. เป็นยาชาเฉพาะที่ พบว่าน้ำเมือกหอยทากยังมีคุณสมบัติช่วยให้บาดแผลที่ผิวหนังไม่เจ็บไม่ทรมาน เพราะมีคุณสมบัติเป็นยาชาเฉพาะที่อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้พบได้ในน้ำเมือกของหอยหลายชนิด เช่น หอยทากทะเล (Sea snail)
  3. ยาสมานแผล มีการทดลองกับกระต่าย พบว่าน้ำเมือกหอยทากช่วยสมานแผลที่ผิวหนังได้รวดเร็วภายใน ระยะเวลาอันสั้น
  4. ยารักษาทางเดินหายใจ แก้คัดจมูก มีงานวิจัยที่พบว่าน้ำเมือกหอยทากช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจผ่อนคลาย ทำให้หายใจโล่ง ในประเทศอิตาลี มีการเตรียมเป็นตำรับยาน้ำเชื่อมเพื่อแก้ไอและแก้คัดจมูก
  5. บำรุงผิว นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องสำอาง หลายแห่งได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยนักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า น้ำเมือกหอยทากสามารถกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิวหนัง และกระตุ้นการสร้างเซลใหม่ให้ผิวหนัง ซึ่งเป็นนัยสำคัญในการบำรุงผิวหนังให้เต่งตึง อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติดังกล่าวในทางการทดลอง ไม่สามารถระบุได้ว่าน้ำเมือกสกัดที่ผสมในครีมบำรุงผิว จะให้ผลได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้ผลดีทั้งหมดเกิดจากน้ำเมือกสดเท่านั้น แต่ไม่มีการทดสอบกับครีมหอยทากแต่ประการใด

วิธีทดลองใช้ครีมหอยทาก
แพทย์ผิวหนัง แนะนำว่า ผู้ที่จะทดลองใช้ครีมหอยทาก ควรเป็นผู้ที่ผิวไม่แพ้ง่าย เพราะเป็นสารสกัดที่มีเอนไซม์จากสัตว์ อาจทำให้ผิวแพ้ง่ายบางคนแพ้เป็นผื่นได้ และควรเริ่มต้นทาบริเวณคอในบริเวณเล็กๆ ทิ้งไว้ 15-30 นาที ถ้าไม่มีอาการแดงหรือแพ้ ค่อยทาในบริเวณกว้างต่อไป
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. A novel treatment for open burn management protocols. J dermatology Treat. 2009; 20(4): 2019-22.
  2. PubMed: Helix and Drugs; snails for western health care from antiquity to the present 2005.
  3. The dermatology review: Does snail cream make wrinkles escargot away?


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


อันตรายจากการสัก 8 วินาทีที่แล้ว
คอนแทคเลนส์ 11 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้