เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ความรู้เรื่องคลื่นรังสี ตอนที่ 1


รองศาสตราจารย์ ดร.ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 35,624 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 29/04/2555
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์มีความจำเป็นแก่ชีวิตในโลกนี้ แต่การได้รับแสงมามากหรือน้อยไปย่อมมีผลต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้นเพื่อเกิดความเข้าใจในพื้นฐานความรู้สิ่งเหล่านี้ บทความนี้จะสรุปรวบรวมข้อมูลที่มีผู้เขียนมาหลายๆด้าน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน โดยในส่วนที่ 1 จะเป็นการสรุปข้อมูลของกลุ่มรังสีต่าง ๆ และการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ 
แสงมีผลต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกจากความร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว ยังประกอบด้วยรังสีที่ความยาวคลื่นต่างๆ ส่วนประกอบที่เป็น Ultraviolet (UV) light นั้นจะเป็นช่วงลำแสงที่นำมากล่าวถึงกันมากที่สุด UV light จัดเป็น elctromagnetic radiation ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-400 nm ความยาวคลื่นจะสั้นกว่าลำแสงที่เป็นแสงที่มองเห็นได้ (visible light) แต่แสง UV จะมีช่วงความยาวคลื่นยาวกว่าแสง X-rays ทีมีช่วงความยาวคลื่นสั้นมาก ตารางที่ 1 แสดงความยาวคลื่นของแสงชนิดต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบให้ทราบ 

กลุ่มชนิดของรังสีต่างๆโดยเฉพาะที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นที่นำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ 

การประยุกต์ใช้ลำแสง UV ในด้านต่างๆในปัจจุบัน 
 

  • 13.5 nm : Extreme Ultraviolet Lithography (ใช้สลักหิน)
  • 230-365 nm : UV-ID, label tracking, barcodes
  • 230-400 nm : Optical sensors, เครื่องมือต่างๆ
  • 240-280 nm : Disinfection, decontamination กำจัดเชื้อที่ผิวน้ำ (DNA ดูดกลืนแสงที่ 260 nm)
  • 200-400 nm : การวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์, การตรวจยา/สารบางชนิด
  • 270-360 nm : การวิเคราะห์โปรตีน, การทำ DNA sequencing, นำมาช่วยการวิจัยการค้นหายาใหม่ (drug discovery)
  • 280-400 nm : การตรวจภาพเซลล์ทางการแพทย์ (Medical imaging of cells)
  • 300-320 nm : การรักษาทางการแพทย์โดยการใช้แสง
  • 300 365 nm : Curing of polymers and printer inks ยูวีมีผลต่อการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ยูวี หลังจากผ่านแสงยูวี เกิดการเชื่อมต่อแล้วแข็งตัวเป็นโพลิเมอร์ หมึกพิมพ์จะแห้งทันที ใช้ในงานพิมพ์ปัจจุบันหลายฃนิด ไม่เกิดการอุดตันของบล็อกสกรีน จึงสามารถพิมพ์งานได้ด้วยผ้าสกรีนเบอร์ละเอียดได้ มีความทนทานต่อสารเคมีสูงกว่าหมึกพิมพ์เชื้อน้ำมันทั่วไป
  • 300-400 nm : Solid-state lighting (SSL) เป็นลำแสงที่ใช้ต้นกำเหนิดแสงมาจาก semiconductor light-emitting diodes (LEDs), organic light-emitting diodes (OLED),หรือ polymer light-emitting diodes (PLED) จะให้แสงที่ลดปริมาณความร้อนและพลังงานลดลง แสงที่เกิดสร้างมาจาก blue light จากต้นกำเหนิดที่เป็น solid-state เปลี่ยนมาเป็นช่วงแสงใกล้เคียงกับ white light spectrum แสง SSL นี้นิยมใช้สำหรับไฟจราจร รถรุ่นใหม่ที่ทันสมัย แสงสำหรับที่จอดรถ สัญญาณรถไฟ ไฟนอกอาคารที่ใช้ตัวควบคุมระยะไกล (remote control)
  • 350-370 nm : แสงที่ใช้ในเครื่องจับแมลง มีหลายรูปแบบที่ผลิตมาใช้ในปัจจุบัน มีความยาวและความถี่ของคลื่นใกล้เคียงกับรังสี UV ซึ่งเป็นแสงที่แมลงที่บินรับได้เป็นพิเศษ และไม่เป็นอันตรายต่อสายตามนุษย์ แต่ก็ไม่ควรจ้องแสงนี้ที่เครื่อง


จะเห็นว่าแสงต่างๆเหล่านี้แม้จะมีโทษเกิดแก่มนุษย์ในหลายๆด้าน ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้คุณสมบัติพิเศษของลำแสงต่างๆเหล่านี้มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการตรวจและรักษาโรค งานทางวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์การใช้ทางอุตสาหกรรม อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านต่างๆ ในอนาคตจะมีการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆได้อีกมากมาย

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Ultraviolet
  2. http://www.spacewx.com/solar_spectrum.html
  3. http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=14281§ion=9&rcount=Y
  4. http://www.cpms.co.th/site/insert_light_mosquito_blackhold.htm


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) 4 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้