เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


น้ำลดแล้ว มาทำความสะอาดบ้านเพื่อกำจัดเชื้อรากันเถอะ


ภญ รศ. ม.ล. สุมาลย์ สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 40,243 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 27/11/2554
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

 
น้ำลดแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะกลับบ้านเพื่อตรวจตราซ่อมแซมบ้านเรือนที่แช่อยู่ในน้ำมานาน และเริ่มทำความสะอาดบ้านเพื่อจะได้เข้าไปอยู่อาศัย ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานไม่ดี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กินยาสเตอรอยด์ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ใช้ยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัดหรือยา ผู้เป็นโรคหอบ หืด รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรเข้าไปในบ้านก่อนที่จะมีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ การกลับเข้าบ้านหลังน้ำลดต้องมั่นใจว่าทำความสะอาดเรียบร้อยและปราศจากเชื้อโรคต่างๆที่อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะเชื้อราที่เกาะตามส่วนต่างๆของบ้านและเครื่องเรือนบริเวณที่ชื้นอับ ขั้นตอนการทำความสะอาดบ้านเพื่อกำจัดเชื้อราควรทำดังนี้
 

  1. คนที่เข้าไปทำความสะอาดควรเป็นผู้มีสุขภาพดีและร่างกายแข็งแรง สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ควรสวมหน้ากากป้องกัน (N - 95 หรือสูงกว่า) ควรสวมถุงมือชนิดทำงานบ้าน รองเท้าบู๊ทยาง และสวมใส่แว่นป้องกันตา เพื่อป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ในระหว่างการทำความสะอาดให้หยุดพักออกมาหายใจอากาศบริสุทธิ์ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการสูดดมเชื้อรา
  2. เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำ สบู่หรือน้ำยาล้างจานโดยเช็ดไปในทิศทางเดียวกันเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน การทำความสะอาดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแรงดันสูงฉีด เพราะจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจาย
  3. ตามด้วยการ ขัดล้างด้วยน้ำคลอรีนที่เตรียมจากคลอรีนผง ถ้าไม่มีใช้น้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 0.5 เปอร์เซนต์ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ที่มีชื่อทางการค้าว่า “ไฮเตอร์” นำน้ำยาซักผ้าขาวชนิดนี้ ผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน 1ถ้วยตวงของน้ำยาซักผ้าขาวต่อน้ำ 3.8 ลิตร
  4. หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆทีเกี่ยว ข้อง ควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตูให้มากที่สุด ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำความสะอาดแล้ว ควรนำมาตากแดดให้แห้งสนิท ควรให้แดดส่องเข้าบ้าน เพื่อไล่ความชื้นให้หมด ส่วนเครื่องปรับอากาศไม่ควรเปิดก่อนการทำ ความสะอาดโดยเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคจะถูกดูดเข้าไปในระบบปรับอากาศ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อได้ และควรจะเปลี่ยนฟิลเตอร์ของเครื่องปรับอากาศด้วย
  5. ตรวจสอบอีกครั้ง ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 - 3 วัน แล้ว ให้มองหาสังเกตการเจริญเติบโตซ้ำของเชื้อรา ซึ่งมีได้ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ

วิธีการเตรียมน้ำคลอรีน 
 

  1. เตรียมน้ำ 10 ลิตรใส่ภาชนะ
  2. ตักน้ำใส่แก้วมา 1 แก้ว
  3. นำผงคลอรีนชนิดความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์ 1 ช้อนชา ผสมลงไปแก้ว แล้วคนให้เข้ากัน
  4. ตั้งทิ้งไว้ให้ผงปูนตกตะกอน
  5. นำน้ำคลอรีนส่วนที่เป็นน้ำใส ผสมน้ำในภาชนะที่เตรียมไว้ในข้อ 1 กวนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 30 นาที ก่อนที่จะใช้ล้างบริเวณที่ต้องการ

ข้อควรระวัง และแก้ไขเบื้องต้น 
คลอรีนทำให้เกิดการระคายเคือง ระบบหายใจ ทำให้แสบจมูก ระคายเคืองตา แสบตา ผิวหนังเป็นผื่นแดงอักเสบ ดังนั้นในการเตรียมคลอรีน จึงควรสวมถุงมือยางขณะเตรียมสารละลายคลอรีน และในระหว่างการผสมคลอรีน มีผ้าปิดปาก จมูก และควรแต่งกายปกปิดร่างกายให้มิดชิด อย่าให้ถูกผิวหนัง และเข้าตา เมื่อถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที ถอดเสื้อผ้าที่ถูกคลอรีนออก และอาบน้ำชะล้างคลอรีนให้หมด เมื่อเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที และรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป 
ส่วนการเก็บผงปูนคลอรีนจึงควรต้องเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ .2549. คู่มือ Food Inspector. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 311 หน้า
  2. คู่มือ “A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home” ของhttp://www.epa.gov/mold/moldguide.html
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


หญ้าปักกิ่ง 6 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้