เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การเก็บยาในตู้เย็นควรเก็บบริเวณไหนดี ?


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วารี ลิมป์วิกรานต์ ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://pimg.tradeindia.com/01530542/b/5/...erator.jpg
อ่านแล้ว 35,819 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 03/05/2559
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


คุณเคยได้รับยาจากโรงพยาบาลแล้วฉลากยานั้นระบุให้เก็บยาในตู้เย็นหรือไม่ หลายคนอาจเก็บยาไว้ช่องธรรมดาที่ส่วนประตูสำหรับไว้เก็บไข่เพราะสะดวกหยิบใช้ง่าย บางคนอาจเก็บไว้ในช่องสำหรับไว้เก็บผักผลไม้เพื่อจะได้แยกเป็นสัดส่วน แล้วเราควรเก็บบริเวณไหนของตู้เย็นดี? 
ตู้เย็นตามบ้านทั่วไปที่นิยมใช้กัน คือตู้เย็นสองประตู โดยประตูบานบนเป็นช่องแช่แข็ง และประตูบานล่างเป็นช่องธรรมดา การปรับอุณหภูมิในตู้เย็นสามารถทำได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการโดยศึกษาได้จากคู่มือการใช้ตู้เย็นซึ่งผู้ผลิตได้ให้คำแนะนำไว้ สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในการเก็บยานั้น ถ้าเก็บที่ช่องแช่แข็งอุณหภูมิจะต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียส และถ้าเก็บที่ช่องธรรมดาอุณหภูมิอยู่ในช่วง 2-8 องศาเซลเซียส 
คำแนะนำง่ายๆ ในการเก็บยาในตู้เย็นมีดังนี้

  • “เก็บยาในตู้เย็น” หมายถึงเก็บยาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส นั่นคือตู้เย็นช่องธรรมดา นอกจากระบุชัดเจนว่า “เก็บยาในช่องแช่แข็ง”
  • ไม่ควรเก็บที่ส่วนประตู เพราะอุณหภูมิจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเมื่อเปิด-ปิดตู้เย็นเพื่อใช้งาน
  • หากเป็นตู้เย็นชนิดประตูเดียวที่ไม่ได้แยกเป็นสัดส่วนช่องแช่แข็งและช่องธรรมดาชัดเจน ไม่ควรวางยาไว้บนชั้นบนสุดที่ใกล้กับช่องแช่แข็ง เพราะอุณหภูมิอาจเย็นเกินไปจนยาแข็งตัวได้ ควรวางที่ชั้นกลางของตู้เย็น
  • วางเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ทั้งค่าบวกและลบไว้ในตู้เย็น เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าอุณหภูมิของตู้เย็นที่ใช้งานอยู่ในช่วง 2-8 องศาเซลเซียส
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://www.nmd.go.th/preventmed/self/cough.html accessed 03/04/2016
  2. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm048682.htm accessed 03/04/2016
  3. http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=2 accessed 03/04/2016
  4. https://www.thoracic.org/copd-guidelines/for-patients/what-kind-of-medications-are-there-for-copd/what-are-mucolytic-agents.php accessed 03/04/2016
  5. Woo T. J Pediatr Health Care. 2008 Mar-Apr;22(2):73-9 accessed 03/04/2016
  6. http://www.nps.org.au/medicines/respiratory-system/cough-and-cold-medicines/for-individuals/types-of-cough-medicines accessed 03/04/2016
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/honey/faq-20058031 accessed 03/04/2016

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรครองช้ำ 8 วินาทีที่แล้ว
ฟักข้าว 9 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้