เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


มาทำความรู้จักกับ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย


รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 27,880 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 20/08/2557
อ่านล่าสุด 3 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

บทความให้สัมภาษณ์ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ กับเว็บไซต์ vcharkarn.com เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาขาวิชาเภสัชวินิจฉัยว่าคืออะไรกันแน่ มีบทบาทอย่างไรในด้านเภสัชศาสตร์

 

บางคนอาจจะไม่คุ้นหูกับชื่อ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย หรือเรียกกันว่า เภสัชเวท (Pharmacognosy) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ ที่สอนและวิจัยเกี่ยวกับพืชและสมุนไพรตลอดจนผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค ศึกษาวิธีวิเคราะห์ และจำแนกชนิดของพืชและสมุนไพรต่าง ๆ การจัดกลุ่มสารเคมีของพืชแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางยา การศึกษาทางเคมีของสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา วิธีการสกัดเพื่อแยกสารดังกล่าวจากพืชสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร 
เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งภาควิชาที่น่าสนใจ ซึ่งต้องมีการเรียนการสอนอะไรกันบ้าง วันนี้ รศ.ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นผู้ให้คำตอบกับเรา

  • การเรียนการสอน ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย “การที่สมุนไพรจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับสาระสำคัญในพืชเหล่านั้น เราต้องเรียนรู้เรื่องสารออกฤทธิ์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy) ในบางมหาวิทยาลัยเรียกเภสัชเวท หรือเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป แต่ก็คือภาควิชาเดียวกัน ”
  • มหาวิทยาลัยที่ไหนบ้างเปิดสอน “นักศึกษาทุกคนคณะเภสัชศาสตร์จะได้เรียนรู้ภาควิชานี้ทั้งนั้น บางมหาวิทยาลัยเภสัชวินิจฉัยกับเภสัชพืชศาสตร์ อาจรวมกัน แต่มหาวิทยาลัยมหิดลยังรวมกันอยู่”
  • จุดเด่นของภาควิชาเภสัชวินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล” มีอาจารย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารสำคัญในสมุนไพรหลายรูปแบบ เรื่องของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) เพื่อให้พืชเหล่านั้นสามารถสร้างสารได้มากขึ้น กว่าธรรมชาติที่สร้างอยู่ หรือคนที่เรียนเรื่องการสกัดสารออกมาจากพืช และที่สำคัญต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วย ว่าสารที่ออกมานั้นมีโครงสร้างเป็นอะไร ทำให้เราค้นพบยาใหม่ๆ จากธรรมชาติ อีกสาขาหนึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพของสมุนไพร”
  • จบสาขานี้แล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร “ส่วนใหญ่หลายคนเป็นเจ้าของธุรกิจผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขานี้ หรือครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ด้านนโยบาย ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เพราะสมุนไพรไม่ได้จบที่รู้ต้นเฉยๆ ต้องรู้ด้วยว่ามีคุณภาพหรือเปล่าที่เป็นเรื่องใหญ่”
  • คุณสมบัติในการเข้ามาเรียน “ต้องเข้ามาเป็นนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ที่ต้องมีความรู้ยาแผนปัจจุบันคือยาสังเคราะห์ หรือยาที่มาจากธรรมชาติก็คือสมุนไพร ในอนาคตหวังว่าจะมีสาขาวิชาสมุนไพรโดยตรง ที่จะเป็นผู้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่บ้านเรามีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศจริงๆ”
  • ฝากถึงผู้สนใจเข้าศึกษา “ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาต้องตระหนักถึง การที่เราใช้ยากันเยอะคือการสูญเสียมูลค่าของประเทศอย่างสูง ในขณะที่เรามีทรัพยากรของบ้านเรา เสียดายที่กลับไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้ เด็กๆทุกคนคิดว่า ประเทศไทยสามารถผลิตยาได้ แม้แต่ยาง่ายๆ จริงๆ ประเทศเราไม่สามารถผลิตยาได้เลยสักเม็ด สิ่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ คือ การประกอบยา เรามีแค่โรงงานซื้อวัตถุดิบ พาราเซท จากต่างประเทศ อาจมาอินเดีย อังกฤษ ฯลฯ แล้วนำมาตอกเป็นเม็ดเท่านั้น ถ้าหากเป็นสมุนไพร เราคือผู้ผลิต ยาสมุนไพรเพราะวัตถุดิบมีในประเทศเรา เพียงใช้เทคโนโลยีจับให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ง่าย ใช้สะดวก เช่น ยาเม็ด ยาผง ยาแคปซูล ทุกกระบวนการอยู่ในประเทศ อีกทั้ง ผู้ปลูกสมุนไพร ผู้เก็บผลผลิต ผู้ประกอบยา ก็มีรายได้ เราต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด”

เภสัชเวทมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในหลายแขนง โดยเป็นศาสตร์ที่ประกอบด้วยความรู้ที่บูรณาการในหลากหลายวิชา เช่น ยาที่มาจากพืชนั้นมีความสัมพันธ์กับวิชาพฤกษศาสตร์และยาที่มาจากสัตว์มีความสัมพันธ์กับวิชาสัตววิทยา เป็นต้น นอกจากนี้เภสัชเวทยังอาศัยองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธาน, การสืบพันธุ์, พยาธิสภาพและพันธุศาสตร์ของพืช ศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นมีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนายา หากประเทศไทยไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากรอันมีค่าอย่างสมุนไพรไทยแล้ว อนาคตข้างหน้าเราอาจจะต้องใช้ยาสมุนไพรจากประเทศอื่น ทั้งที่ประเทศของเรานั้นมีความสมบูรณ์ และพร้อมที่จะพัฒนาสมุนไพรไทย. 
 

ที่มา: http://www.vcharkarn.com/varticle/61362

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Karras DJ, Farrell SE, Harrigan RA, Henretig FM, Gealt L. Poisoning from "Spanish fly" (cantharidin). Am J Emerg Med. 1996;14(5):478-483.
  2. Romanelli F, Smith KM, Thornton AC, Pomeroy C. Poppers: epidemiology and clinical management of inhaled nitrite abuse. Pharmacotherapy. 2004;24(1):69-78.
  3. วิษณุ เชื้อพันธุ์. ปัญหาการลักลอบนำเข้าสารระเหยและแนวทางแก้ปัญหา. วารสารอาหารและยา ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน 2557. Available from: journal.fda.moph.go.th/journal/012557/03.pdf
  4. Smith KM, Larive LL, Romanelli F. Club drugs: methylenedioxymethamphetamine, flunitrazepam, ketamine hydrochloride, and gamma-hydroxybutyrate. Am J Health Syst Pharm. 2002;59(11):1067-1076.
  5. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. เตือน ยาเสียสาวนำมาใช้ในทางที่ผิด. Available from: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B5.pdf
  6. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. ยกระดับยาเสียสาวอัลปราโซแลมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คุมเข้ม! ป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด. Available from: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A_Alprazolam.pdf

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 3 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้