เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 8


รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 21,819 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 29/01/2555
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

กล่องผนึกฝา 
กล่องเป็นบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิซึ่งไม่สัมผัสโดยตรงกับยา มีประโยชน์สำหรับยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ใช้ในลักษณะการบริการตนเองของลูกค้า เพราะให้ขีดความสามารถในการนำเสนอสินค้า ให้ความแข็งแรงในการป้องกันผลิตภัณฑ์ที่แตกง่าย และสามารถแสดงฉลากได้มากตามต้องการเหนือภาชนะที่ใช้บรรจุยาโดยตรง ปัจจุบันนี้ มีการนำกล่องพับมาใส่ภาชนะบรรจุยา1 
การใช้กล่องแบบสอดปลายฝากล่อง (tuck end carton) ดังแสดงในรูปที่ 1(A) ไม่เป็นที่นิยมในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้านการแกะ หากจำเป็นต้องใช้จะต้องอาศัยการต้านการแกะแบบที่ถูกต้องมาร่วม คือ การใช้ห่อแบบฟิล์มหด การผนึกด้วยเทปหรือกาว สำหรับกล่องที่เหมาะสมจะเป็นกล่องแบบผนึกฝา (seal end carton)1, 2 การปิดผนึกอาจใช้กาวหรือวิธีหลอมร้อนของพอลิเมอร์หรือโคพอลิเมอร์ที่เหมาะสม1, 3 นอกจากนี้ยังสามารถกันฝุ่นดี เพราะมีปีกกันฝุ่น (dust flap) 2 ด้าน รวมทั้งการปิดผนึกของฝากล่องทั้งสอง2

ภาชนะบรรจุแอโรซอล 
ภาชนะบรรจุแอโรซอลที่ใช้สำหรับเภสัชผลิตภัณฑ์ ปรกติทำด้วยเหรียญอลูมิเนียมที่ถูกดึงหรือรีดให้ขึ้นรูปเป็นภาชนะ มีการเคลือบภายในภาชนะหากมีปัญหาความไม่เข้ากันกับผลิตภัณฑ์ สารที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นละอองฝอยเมื่อฉีดพ่นคือ สารขับดันไฮโดรคาร์บอนซึ่งจะอยู่ในสถานะของเหลวขณะเย็นลง และใช้เติมลงในภาชนะพร้อมกับผลิตภัณฑ์ หัวฉีดจะประกอบอยู่ในปลอกโลหะติดประเก็นซึ่งถูกกดจีบบนปากภาชนะ หลอดจุ่มเป็นหลอดพอลิเอธิลีนความยาวเหมาะสม นำมาจุ่มในผลิตภัณฑ์และต่อแนบกับหัวฉีดซึ่งจะดึงผลิตภัณฑ์ขึ้นไปเมื่อเปิดหัวฉีดพร้อมทำงาน (activated) มีการทำให้หัวฉีดวัดขนาดฉีดจำเพาะของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ปริมาณที่พ่นจ่ายออกมาได้ตามต้องการ ภาชนะบรรจุแอโรซอล จึงมีคุณลักษณะต้านการแกะโดยการการออกแบบการใช้งานนั่นเอง1, 4, 5 การแสดงฉลากจะต้องพิมพ์ฉลากโดยตรงบนกระป๋อง จะต้องไม่ใช้ฉลากกระดาษ เพราะสามารถลอกออกได้และปิดฉลากใหม่แทน4

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. Collaborative Learning for Packaging Design Using VR and KM. (http://innomedialab.com/covrkm/E-learning/s13.html).
  3. Kauffman TF, Puletti PP. Bonding method employing sprayable hot melt adhesives for case and carton sealing. United States Patent 4956207.
  4. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  5. Sciarra JJ, Cutie NJ. Pharmaceutical aerosols. In: In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 589-618.
  6. Harris T. How aerosol cans work. HowStuffWorks. (http://science.howstuffworks.com/innovation/everyday-innovations/aerosol-can3.htm)
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


สัตว์เลี้ยงกับยา 11 วินาทีที่แล้ว
24 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้