เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 7


รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 25,576 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 12/12/2554
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ฝาพลาสติก 
เมื่อปิดผนึกภาชนะด้วยฝาพลาสติก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้นั้น จะต้องทำฝาให้ฉีกขาดอย่างสมบูรณ์เมื่อเอาออกจากภาชนะ หรือทิ้งส่วนของฝาไว้ที่ภาชนะ ฝาหรือส่วนของฝาจะต้องฉีกขาดเพื่อเปิดภาชนะหรือนำเอาผลิตภัณฑ์ออกมา ภาชนะและฝาที่ถูกแกะจะต้องไม่อยู่ในสภาพเดิม1, 2 ดังนั้นเมื่อมีการแกะฝาออกก็จะเห็นขวดที่มีฝาในลักษณะที่ฉีกขาดทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงมือเรา ในตอนนี้จะกล่าวถึงฝาพลาสติกที่น่าสนใจ3 แบบด้วยกัน เพื่อนำมาศึกษาลักษณะพื้นฐานที่น่าสนใจ

ฝาพลาสติก 
ฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว มีลักษณะคล้ายกับฝาโลหะขึ้นรูปเกลียวกันขโมยที่กล่าวถึงในตอนที่แล้ว ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด เราจะเห็นรอยเกลียวเฉพาะข้างฝาด้านในเท่านั้น เมื่อมองด้านนอกจะเห็นริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-off strip) เป็นแนวชั้นเดียวที่เชื่อมระหว่างฝาด้านบนกับฝั่ง (bank) ด้านล่าง ซึ่งจะขาดง่ายเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนฝั่งจะรัดแน่นกับคอและอยู่บนวงแหวนรอบคอ3 

ฝาเกลียวกันขโมยสองชั้น 
มีลักษณะคล้ายกับฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว แต่จะปรากฏริ้วเชื่อมเป็นแนว 2 ชั้น ตรงกลางระหว่างแนวริ้วเชื่อมเรียก แถบ หรือ ซี่ (rib) ซึ่งจะขาดออกมาเป็นแถบเมื่อจับส่วนต้นของแถบหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งแถบหลุดออก จึงสามารถเปิดฝาออกจากปากภาชนะ ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด ส่วนของฝั่งจะรัดแน่นกับคอแบบสรวมนอก (snap-on) 

ฝาแบบเฟืองล้อ (Ratchet-Style Cap) 
เป็นฝาพลาสติกที่ส่วนล่างเรียกเฟืองล้อ ติดกับส่วนฝาด้วยริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-away strip) จับเฟืองล้อให้หมุนตามเข็มนาฬิกาในทิศทางเดียวกับฟันเฟืองเฉียง (sloping teeth) ทำให้ปิดสนิทเมื่อหมุนไปสุด เมื่อต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องหมุนฝาทวนเข็มนาฬิกา ทำให้เฟืองล้อติดล็อคฟันเฟืองเฉียงและหมุนฝาได้อย่างเดียว ริ้วเชื่อมจึงขาดออกและทิ้งให้เห็นร่องรอยของเฟืองล้อล็อคคาฟันเฟือง3 ฝาชนิดนี้ออกแบบสำหรับปิดขวดยาหยอดตาปราศจากเชื้อบางยี่ห้อ ซึ่งเป็นขวดพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำที่มีขีดการเด้งคืนตัวสูงหลังบีบ (high squeezability) เพื่อบีบยาหยอดตาออกมาทีละหยดจากปลายจงอยปาก นอกจากนี้ยังมีให้เห็นในฝาขวดน้ำดื่มหลายๆ ยี่ห้อ แต่ปราศจากจงอยปาก 

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 14 วินาทีที่แล้ว
สิว...สาเหตุจากยา 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้