เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 4


รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลาภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 19,118 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 25/09/2554
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

กล่องโป่ง (Bubble Pack)
เราสามารถผลิตกล่องโป่งได้หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้กันมากจะประกบผลิตภัณฑ์ด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติก และแผ่นรอง ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 1 A เป็นพลาสติกชนิดสามารถขึ้นรูปโดยความร้อน หยอดผลิตภัณฑ์ลงไป และประกบปิดผนึกด้วยแผ่นรอง ซึ่งคล้ายคลึงกับการบรรจุแผงฟอยล์บริสเตอร์ที่กล่าวในตอนที่ 3 ทุกขั้นตอน1, 2 หากมีการแกะเกิดขึ้นเพื่อเอาผลิตภัณฑ์ออกมา จะเห็นร่องรอยการแกะดังแสดงในรูปที่ 1 B 

รูปที่ 1 A: แสดงกล่องโป่งทำด้วยพลาสติกชนิดขึ้นรูปโดยความร้อน B: ร่องรอยการแกะบนแผ่นรอง8

พลาสติกฟิล์มที่ใช้อาจเป็นชนิดอื่น ได้แก่ ชนิดยืดตัว หรือชนิดหดตัวเมื่อถูกความร้อน ส่วนแผ่นรองแผ่นกระดาษแข็งเคลือบวัสดุที่มีขีดการปิดผนึกด้วยความร้อน2 กล่องโป่งใช้ประโยชน์มากในการบรรจุอาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้ฟ้าและแบตเตอรี่ เป็นต้น

ผนึกเทป
การปิดผนึกเทปขึ้นกับกาวเหนียวที่ทำให้เทปยึดติดบรรจุภัณฑ์ ถ้าลอกออกได้แล้วติดกลับได้ใหม่ ก็ไม่มีความสามารถต้านการแกะแต่อย่างใด ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในผนึกเทป ได้แก่ การใช้กาวเหนียวที่ไม่ยอมให้มีการแกะและการนำกลับมาใช้อีก หากมีการกระทำสองประการดังกล่าว ต้องพร้อมจะมีร่องรอยให้เห็นการแกะและร่องรอยการนำกลับมาใช้ใหม่ ผนึกเทปที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนว่าไม่พร้อมที่จะถูกกระทำซ้ำ3
มีการใช้ผนึกเทปหรือฉลากกาวหรือแบบไวต่อแรงกด รอบหรือบนฝาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะต้องถูกทำลายเมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ใช้อาจเป็นกระดาษที่มีความหนาแน่นสูง น้ำหนักเบาและค่อนข้างขาดง่าย หากขาดยากอาจใช้รอยปรุตลอดแนวหรือรอยเจาะบางส่วน เพื่อให้เกิดจุดอ่อนที่จะฉีดขาดได้ง่าย ขณะที่พยายามจะดึงผนึกออก1, 2 ดังแสดงในรูปที่ 2 

รูปที่ 2 ผนึกเทปที่กล่องบรรจุยา2

รูปที่ 3 ผนึกฉลากติดพาดข้างขวดและฝาขวด และร่อยรอยตัวอักษรและลวดลายเมื่อดึงฉลากออก4

ตัวอย่างนวัตกรรมใหม่ๆ จะเป็นแนวลักษณะรูปลอกหรืออักษรลอก4, 5 เมื่อดึงผนึกฉลากหรือผนึกเทปออกจะทิ้งร่องตัวอักษรและลวดลายบนขวดและฝา ดังแสดงในรูปที่ 3 หรือกล่อง ดังแสดงในรูปที่ 4 ตามลำดับ

รูปที่ 4 แสดงผนึกเทปติดที่ข้างกล่อง และร่องรอยตัวอักษรและลวดลายที่ข้างกล่องเมื่อดึงออก5

สำหรับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อแล้ว การสังเกตร่องรอยการแกะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเอง เพราะปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ยามีการปนปลอมกันมาก หรืออาจมีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้น เพื่อการทำลายชื่อเสียงของบริษัทคู่แข่ง ขณะที่เราก็ควรแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้จัดการได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดความเสียกายต่อผู้อื่นต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed. Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  4. Security products by tamper evident: Security labels & tamper evident labels. Tamper-Evident (trade mark) (http://www.tamperevident.com.au/label_seals_page.php).
  5. Security products by tamper evident: Security tapes & tamper evident tapes. Tamper-Evident (trade mark) (http://www.tamperevident.com.au/tape_seals_page.php).
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้