เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ต้อหิน


อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.royalspanishcenter.com/wp-co...68x456.jpg
อ่านแล้ว 7,467 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 18/05/2564
อ่านล่าสุด 33 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ต้อหิน เป็นสาเหตุอันดับที่ 2 ของการสูญเสียการมองเห็น รองจากต้อกระจกในระดับโลก องค์การอนามัยโลกประมาณว่า 7.7 ล้านคนทั่วโลก มีปัญหาต้อหินที่รุนแรงปานกลางจนถึงขั้นประสบปัญหาตาบอด 
ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคมีความผิดปกติของขั้วประสาทตา ส่วนใหญ่เกิดจากไหลเวียนน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ผิดปกติ ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น จนมีการทำลายไปที่ขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียลานสายตาแบบถาวร ในบางกรณีต้อหินสามารถเกิดในผู้ที่มีความดันลูกตาปกติได้ การวินิจฉัยจึงไม่ได้มีเพียงการตรวจวัดความดันตาเท่านั้น ยังต้องมีการตรวจอื่น ๆ เช่น ลานสายตา ความหนาของกระจกตา การตรวจขั้วประสาทตา และการตรวจพิเศษของจักษุแพทย์ร่วมด้วย 
 
ภาพจาก : https://marvel-b1-cdn.bc0a.com/f00000000038905/www.aao.org/full/image.axd?id=ae6b7efb-c013-40b0-8c7b-fe8232bebc11&t=636789918580000000 
อาการของต้อหินขึ้นอยู่กับประเภทของต้อหินโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ต้อหินมุมเปิด การดำเนินของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป มักสังเกตอาการได้ยากในระยะแรก และไม่พบอาการผิดปกติทางสายตารูปแบบอื่นนอกจากตามัว ซึ่งอาการตามัวของต้อหินชนิดนี้ จะมัวจากลานสายรอบนอก และมัวเข้าในเรื่อย ๆ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อลานสายตาแคบลงจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น เดินชนสิ่งของด้านข้างบ่อย ๆ เป็นต้น
  2. ต้อหินมุมปิด การดำเนินของโรคจะฉับพลันและมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวลงอย่างฉับพลัน บางรายมีอาการปวดศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
    • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
    • เชื้อชาติเอเชีย หรือกลุ่มละติน
    • ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ๆ หรือสายตายาวมาก ๆ
    • ผู้ที่มีความดันลูกตาสูงจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. American Academy of Ophthalmology. 2019. 2019-2020 BCSC: Basic and Clinical Science Course. American Academy of Ophthalmology.
  2. Chumley, Heidi S. 2019. “Glaucoma.” In The Color Atlas and Synopsis of Family Medicine, 3e, eds. Richard P Usatine, Mindy A Smith, Jr. Mayeaux E.J., and Heidi S Chumley. New York, NY: McGraw-Hill Education.
  3. Henderer, Jeffrey D, and Christopher J Rapuano. 2017. “Ocular Pharmacology.” In Goodman & Gilman's: The Pharmacological Basis of Therapeutics, 13e, eds. Laurence L Brunton, Randa Hilal-Dandan, and Björn C Knollmann. New York, NY: McGraw-Hill Education.
  4. Horton, Jonathan C. 2018. “Disorders of the Eye.” In Harrison's Principles of Internal Medicine, 20e, eds. J Larry Jameson et al. New York, NY: McGraw-Hill Education.
  5. National Institute for Health and Care Excellence (UK). 2017. Glaucoma: diagnosis and management. London: National Institute for Health and Care Excellence.
  6. Shaarawy, Tarek M, Mark B Sherwood, Roger A Hitchings, and Jonathan G Crowston. 2014. Glaucoma E-Book. Elsevier Health Sciences.
  7. World Health Organization. 2021. “Blindness and vision impairment” https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment (5 May 2021).


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ต้อหิน 1 วินาทีที่แล้ว
กระเทียมดำ 19 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้