เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


วัณโรค ( กลับมาอีกแล้ว....โดยไม่ได้เรียกร้อง)


คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 44,111 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 19/06/2554
อ่านล่าสุด 5 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ในแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคประมาน 2-3ล้านคน ในจำนวนนี้จะเป็นเด็กประมาณ1แสนคน คาดว่าในปีพ.ศ.2563 จะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นเกือบ 1 พันล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 70 ล้านคน วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่สามารถแพร่กระจายทางอากาศไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย หลังจากที่ได้มีการค้นพบยาที่ใช้รักษาได้ผลดี และมีวัคซีนฉีดป้องกันทำให้ผู้ป่วยวัณโรคลดน้อยลง ในปี พ.ศ.2539 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นวัณโรคประมาณ 8 หมื่นคน และในปี พ.ศ.2534 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 4 หมื่นคน ต่อมาในปี พ.ศ.2535-2536 ได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อเอชไอวีไปทั่วประเทศทำให้การแทรกซ้อนของวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นปีละ 5หมื่นคนและครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ 1 ราย ถ้าไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้คนรอบข้างติดเชื้อได้ 10 -15 คนต่อปี และวัณโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิต

 

องค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่เป็นลำดับที่ 17 จากกลุ่ม 22 ประเทศที่มีปัญหาด้านวัณโรค ซึ่ง 3 อันดับแรกได้แก่ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย จำนวนผู้ป่วยวัณโรคในไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็นเพราะการควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคไม่ถึงเป้าหมาย ที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยกินยาไม่ต่อเนื่องจนเกิดวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาอย่างรุนแรง หรือ Extensively drug resistant tuberculosis (XDR-TB)ปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และปัญหาแรงงานต่างชาติที่เป็นวัณโรคหรือเป็นพาหะของโรคเข้ามาหางานทำในเมืองไทยกันมากขึ้น

วัณโรคหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝีในท้อง เรารู้จักกันในชื่อของทีบี(TB)ซึ่งเป็นชื่อย่อของTuberculosis เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium tuberculosisเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจในรูปละอองเสมหะเชื้อวัณโรคจะผ่านเข้าสู่ปอดและเริ่มแบ่งตัวแพร่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำให้เกิดวัณโรคปอด แต่อาจแพร่กระจายไปที่อื่นๆ ในร่างกายทำให้เกิดวัณโรคที่อวัยวะนั้นๆ เช่น ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองกระดูก ข้อ ไต และเยื่อหุ้มสมองบุคคลที่มีโอกาสติดเชื้อง่ายได้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, ติดเหล้าและภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ในตอนแรกที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะยังไม่แสดงอาการ และไม่พบความผิดปกติในเอกซเรย์ปอดแต่ในเวลาต่อมา ซึ่งอาจนานเป็นปี เมื่อวัณโรคเริ่มเป็นมากขึ้นจะปรากฏอาการอื่นให้เห็น เช่นไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ บางรายไอแห้งๆ อาจมีเสมหะสีเหลือง เขียว หรือไอปนเลือด เจ็บแน่นหน้าอก มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ในช่วง 2 เดือนแรกจะใช้ยาร่วมกัน 3-4 ชนิดหลังจากนั้นจึงลดยาเหลือ 2 ชนิดเป็นเวลาต่อไปทั้งหมด รวม 6-9 เดือนนิยมให้ยารับประทานรวมกันเวลาเดียวก่อนนอนภายหลังให้การรักษาอาการต่างๆของผู้ป่วยจะค่อยๆดีขึ้น ใน 2 สัปดาห์ และใกล้เคียงปกติภายในระยะ 2 เดือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เชื้อดื้อยาหรือเป็นโรคมานานและได้รับการรักษาช้าจะต้องทำการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 1 –2 ปี ยาวัณโรคในปัจจุบันหลักๆจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ Isoniazid, Rifampicin ,Pyrazinamide และ Ethambutolผู้ป่วยควรกินยาครบตามที่แพทย์สั่ง ถ้ากินๆหยุดๆอาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อวัณโรคดื้อยาได้ จะทำให้ระยะเวลาการรักษายาวนานและรักษายากยิ่งขึ้น ยาที่กล่าวมาในข้างต้นนี้มีผลข้างเคียงทุกตัว จึงต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์และเภสัชกร การรักษาจะได้ผลดีต่อเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน หมั่นดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างก็จะช่วยหยุดยั้งการแพร่กระจาย และทำให้โรคนี้หมดไปจากประเทศไทยได้

บทความโดย :ภญ. รศ. ม.ล. สุมาลย์ สาระยา

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะตูมซาอุ ผักหลายชื่อ 6 วินาทีที่แล้ว
8 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 12 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้